Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์th_TH
dc.contributor.authorวรพล คงศักดิ์ไพบูลย์, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-24T07:40:56Z-
dc.date.available2024-01-24T07:40:56Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11257en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารชีวภัณฑ์ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ 4) ความต้องการในการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ และ 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าว ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวในอำเภอบ้านโพธิ์ จำนวน 859 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ได้จำนวน 132 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 55.47 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับเชื้อราไตรโครเตอร์มาและได้รับข่าวสารจากบุคคลภายนอก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชนและคนรู้จัก ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง โดยมีขนาดพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 22.09 ไร่ เกษตรกรพบโรคระบาดที่สำคัญ คือโรคกาบใบแห้ง สำหรับศัตรูข้าวที่พบมากที่สุดคือ หอยเชอรี่ เกษตรกรมีเพียงส่วนน้อยที่มีการใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดหอยเชอรี่ 2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้สารชีวภัณฑ์ในนาข้าวคือ เชื้อราไตโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอเรียในระดับมาก ส่วนการปฏิบัติพบว่า มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับมากที่สุดในเรื่อง การฉีดพ่นต้องทำช่วงเวลาขณะแดดอ่อนหรือเวลาเย็น และในแปลงปลูกต้องมีความชื้นเพียงพอ 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการซื้อ/จัดหาสารชีวภัณฑ์ระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาด้านการใช้สารชีวภัณฑ์ระดับมากในเรื่องการไม่เห็นผลเร็วเหมือนสารเคมี ข้อเสนอแนะ พบว่า ต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแนะนำแหล่งจำหน่ายสารชีวภัณฑ์ในพื้นที่ใกล้เคียง และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนสารชีวภัณฑ์โดยเฉพาะช่วงฤดูปลูกข้าวนาปี 4) เกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก จากการอบรม การสัมมนา การศึกษา จากหน่วยงานราชการ ด้านเนื้อหาที่ต้องการในระดับมาก คือ การใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาในนาข้าว ด้านผู้ส่งเสริมต้องการในระดับมากจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์คือ ใช้วิธีการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในการปฏิบัติth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectข้าว--โรคและศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectสารชีวภาพควบคุมศัตรูพืชth_TH
dc.subjectเชื้อรา--การใช้ประโยชน์th_TH
dc.subjectเชื้อราในการเกษตรth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรผู้ผลิตข้าว อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for the use of microbial pesticides to control rice pests by the farmers in Ban Pho District, Chachoengsao Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorจินดา ขลิบทองth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169163.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons