Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจักรพงษ์ บุตราช, 2534--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-24T08:25:37Z-
dc.date.available2024-01-24T08:25:37Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11262-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผลิตพืชผักอินทรีย์ในจังหวัดอำนาจเจริญ 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญ 3) การได้รับการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผลิตพืชผักอินทรีย์ในจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 140 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยาเมาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.12 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษามีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.53 คน เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรการเกษตร ไม่ได้เป็นผู้นำชุมชนและมีประสบการณ์ในการผลิตพืชผักอินทรีย์เฉลี่ย 4.86 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.18 คน รายได้จากการผลิตพืชผักอินทรีย์เฉลี่ย 10,418.27 บาท รายจ่ายจากการผลิตพืชผักอินทรีย์เฉลี่ย 3,278.85 บาท มีที่ดินของตนเองเฉลี่ย 3.34 ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 94.2 มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักอินทรีย์ในระดับมากที่สุด 3) การได้รับส่งเสริม เกษตรกรได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเนื้อหาการผลิตพืชผักอินทรีย์อยู่ในระดับมาก และด้านการสนับสนุนอยู่ในระดับปานกลาง 4) ความต้องการการส่งเสริม เกษตรกรต้องการได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก ต้องการการส่งเสริมด้านเนื้อหาการผลิตพืชผักอินทรีย์อยู่ในระดับมากที่สุด และต้องการการส่งเสริมด้านการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุด 5) เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์อยู่ในระดับน้อยในทุกประเด็น ทั้งในด้านวิธีการส่งเสริม ด้านเนื้อหา และด้านการได้รับการสนับสนุน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ ให้เจ้าหน้าที่ควรจัดฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้เกษตรกร จัดตั้งแปลงต้นแบบศูนย์เรียนรู้ ให้ความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ในระบบอินทรีย์ จัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น และสำรวจความต้องการปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตพืชผักอินทรีย์.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectผักปลอดสารพิษ -- การปลูกth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร -- ไทย -- อำนาจเจริญth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญth_TH
dc.title.alternativeการส่งเสริมการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169157.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons