Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11277
Title: แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
Other Titles: Guidelines for development of the being professional learning community of schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Office 4
Authors: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาชินี ภักดีมี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--นครราชสีมา
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เปรียบเทียบระดับความป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 วิธีดำเนินการวิจัย จำแนกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 123 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเป็นการนำผลการวิจัยระยะที่ 1 มาบูรณาการกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาสร้างเป็นร่างแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน พิจารณาให้ความเห็นชอบ ครื่องมือการวิจัย คือ ร่างแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนทางวิชาชีพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กและกลางขึ้นไปโดยภาพรวมรายด้านมีระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ประกอบด้วย (3.1) ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ ได้แก่ ผู้บริหารและครูควรปรับทัศนคติและวิธีการทำงานร่วมกันโดยนึงถึงคุณค่าและความแตกต่างระหว่างบุคคล (3.2) ด้านการทำงานร่วมกันของทีม ได้แก่ ผู้บริหารบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมงานในการพัฒนาผู้เรียน (3.3) ด้านภาวะผู้นำร่วมกันและให้กำลังใจกัน ได้แก่ ผู้บริหารควรลดการสั่งการ และมอบอำนาจการตัดสินใจให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (3. 4) ด้านการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาการรียนรู้วิชาชีพ ได้แก่ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเสวนาใคร่ครวญระหว่างกัน (3.5) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ได้แก่ ควรให้สมาชิกทุกคนเกิดความตระหนักว่าการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและช่วยให้เกิดการพึ่งพาตนเอง (3.6) โครงสร้างที่ส่งเสริมสนับสนุน ได้แก่ ควรกำหนดให้โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานที่ส่งเสริมสนับสนุนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ (3.7) ด้านการปฏิบัติงานร่วมกัน ได้แก่ ควรจัดกิจกรรมที่ผู้บริหาร ครูและผู้เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11277
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161963.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons