Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสารth_TH
dc.contributor.authorเดชจรัส ยังพลขันธ์, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-26T03:12:42Z-
dc.date.available2024-01-26T03:12:42Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11292en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2,565 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ที่ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 189 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 54.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.07 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.74 คน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนเกษตรกร มีอาชีพหลักทำสวนยางพารา มีอาชีพรองทำสวนกาแฟ มีพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 8.84 ไร่ ผลผลิตกาแฟเฉลี่ย 196.13 กิโลกรัมต่อไร่ (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นการตัดฟื้นต้นกาแฟจะให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกต้นใหม่และการตัดฟื้นต้นกาแฟควรทำการตัดฟื้นต้นกาแฟเมื่อย่างเข้าฤดูฝน (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นควรทำการตัดฟื้นต้นเมื่อย่างเข้าฤดูฝน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของกิ่งที่แตกยอดใหม่มากที่สุด และ (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นหากต้องการเปลี่ยนพันธุ์ต้นกาแฟเดิมให้เป็นพันธุ์ที่ดีขึ้นสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนยอดหลังจากการตัดฟื้นต้นประมาณ 1-2 เดือนมากที่สุด และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะควรให้ความรู้ว่าการตัดฟื้นต้นกาแฟเป็นการฟื้นต้นกาแฟที่มีอายุมาก และเป็นวิธีที่ได้เปรียบกว่าการปลูกต้นใหม่ เพราะต้นเดิมมีระบบรากสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำให้มีการสร้างกิ่งก้านสาขาใหม่ได้เร็วกว่าการปลูกใหม่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกาแฟ--การผลิต--ไทย--ชุมพรth_TH
dc.subjectกาแฟ--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสมth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการเกษตรth_TH
dc.titleการยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeAdoption of coffee rejuvenation technology of farmers in Tha Sae District, Chumphon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research were to study (1) socio-economic condition of farmers, (2) knowledge of coffee rejuvenation technology of farmers, (3) opinion about farmers’ adoption coffee rejuvenation technology and (4) problems and suggestions about the promotion of coffee rejuvenation technology.The population was 2,565 farmers in adoption of coffee rejuvenation technology of farmers in Tha Sae District, Chumphon Province, who registered as economic crop producer in the production year of 2018/19 with the Department of Agricultural extension. The sample size comprised 189 persons was determined by using Yamane formula with 0.07 variation. Structured interview was used for data collection. Statistics used were frequency, percentage, average, minimum, maximum, standard deviation. The results indicated the following; (1) most of farmers were male with an average age of 50.07 years and completed primary education level. The average members in household were 3.74 persons. The average coffee area is 8.84 rai, the average coffee production is 196.13 kilograms per rai to received news and information from friends. (2) Farmers had knowledge for coffee regeneration technology that will yield faster than the new plant, and the regeneration of coffee trees should be regenerated when roasting in the rainy season. ( 3 ) Farmers had opinion about the acceptance of coffee tree cutting technology on the issue that should be cut when grilling in the rainy season. In order to had enough water to stimulate the growth of the new shoots. (4 ) Farmers had problems were with the technology of regenerating coffee trees. To change the original coffee tree into a better variety, this can be done by changing the amount after the beginning of the regeneration process for approximately 1-2 months. suggestions that knowledge should be given to cutting coffee trees to recover old coffee trees. The advantageous method of planting new plants because the original tree already has a complete root system resulting in the creation of new branches faster than new planting were suggested.en_US
dc.contributor.coadvisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons