Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11292
Title: | การยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร |
Other Titles: | Adoption of coffee rejuvenation technology of farmers in Tha Sae District, Chumphon Province |
Authors: | นารีรัตน์ สีระสาร เดชจรัส ยังพลขันธ์, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | กาแฟ--การผลิต--ไทย--ชุมพร กาแฟ--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีการเกษตร |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2,565 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ที่ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 189 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 54.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.07 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.74 คน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนเกษตรกร มีอาชีพหลักทำสวนยางพารา มีอาชีพรองทำสวนกาแฟ มีพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 8.84 ไร่ ผลผลิตกาแฟเฉลี่ย 196.13 กิโลกรัมต่อไร่ (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นการตัดฟื้นต้นกาแฟจะให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกต้นใหม่และการตัดฟื้นต้นกาแฟควรทำการตัดฟื้นต้นกาแฟเมื่อย่างเข้าฤดูฝน (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นควรทำการตัดฟื้นต้นเมื่อย่างเข้าฤดูฝน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของกิ่งที่แตกยอดใหม่มากที่สุด และ (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟในประเด็นหากต้องการเปลี่ยนพันธุ์ต้นกาแฟเดิมให้เป็นพันธุ์ที่ดีขึ้นสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนยอดหลังจากการตัดฟื้นต้นประมาณ 1-2 เดือนมากที่สุด และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะควรให้ความรู้ว่าการตัดฟื้นต้นกาแฟเป็นการฟื้นต้นกาแฟที่มีอายุมาก และเป็นวิธีที่ได้เปรียบกว่าการปลูกต้นใหม่ เพราะต้นเดิมมีระบบรากสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำให้มีการสร้างกิ่งก้านสาขาใหม่ได้เร็วกว่าการปลูกใหม่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11292 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License