Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11306
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorคมกริช ทรงแก้ว, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-01-26T07:43:50Z-
dc.date.available2024-01-26T07:43:50Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11306-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และขอบเขตของการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2) ศึกษาวิวัฒนาการ ทฤษฎี ความเป็นมาของการควบคุมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ความชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เป็นการจำกัดสิทธิเกินสมควรหรือไม่ และ (4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปเพื่อให้ได้ทราบถึงแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์รวมถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อวิเคราะห์หามาตรการและวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับปัญหาที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของธุรกิจภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ออกเผยแพร่เนื้อหาสาระต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีการควบคุมระดับอายุของเด็กและเยาวชนในการเข้าถึงสื่อ รวมถึงการนำออกให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายได้ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการในการตรวจสอบภาพยนตร์ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เสียก่อน โดยได้กำหนดกิจการที่อนุญาตไว้ 4 ประเภทดังนี้ 1) การประกอบกิจการโรงหนัง 2) การประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ 3) การประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ 4) การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ซึ่งหากร้านใดมีใบอนุญาตเป็นสถานบริการแล้ว ไม่ต้องมาขอใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อีก และหากมีการฝ่าฝืนจะได้รับโทษที่สูงสุดตั้งแต่ 200,000-1,000,000 บาท และการปรับรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอีกด้วย (2) สำหรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมากจากต้นแบบความคิดของการควบคุมการผลิตและการเผยแพร่ภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช 2473 โดยภาพยนตร์ทุกเรื่องจะได้รับการเซ็นเซอร์จากเจ้าพนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ก่อนอนุญาตให้นำออกฉาย (3) การจำกัดเสรีภาพในการสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ และการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อภาพยนตร์นั้นเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชนชนเกินสมควร และปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีเนื้อหามุ่งคุ้มครองผู้ผลิตผลงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์จนทำให้ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรค สำหรับในทางกฎหมายการบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองและควบคุมผลงานอันมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้น จำเป็นจะต้องมีความสมดุลแห่งประโยชน์ ซึ่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ยังมีขาดสมดุลแห่งประโยชน์ระหว่างผู้สร้างสรรค์กับสังคม และ (4) ควรมีการทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา 38 และมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทลงโทษทางอาญา รวมถึงการยกเลิกกฎหมายบางข้อให้เหลือเท่าที่จำเป็นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551th_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมภาพยนตร์--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551th_TH
dc.title.alternativeBusiness operator supervisory measure under the film and video Act B.E. 2551 (2008)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this independent study is (1) to study background and significance of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) and scope of the enforcement of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008), (2) to study the evolution, theory, and background of the film and video control, (3) to study and analyze whether the legitimacy on enforcement of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) is the excessive limitation of the right, and (4) to further find and suggest the revision of law. This independent study is a qualitative research using documentary research method from studying and searching data from the relevant statutory provisions, code of laws, academic articles, other academic researches and achievements both in Thai and English language. The data was analyzed to find the conclusion for acknowledgement on the concept, theory, rule, and condition of the problem relating to the Business Operator Supervisory Measure under the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) to analyze and find the appropriate measure and method for addressing the occurred problems. The findings of the studying results indicated that: (1) the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) has been supported form the government sector to protect the business owners of the films and videos that publicize the appropriate contents and essences, control the level of the children and youth age to access media, and release the films and videos for rent, exchange, or sale firstly through the determined film censor procedure and process. Four types of businesses are determined to be permitted as follows: 1) an operation of the cinema business, 2) an operation of the business for rent, exchange or sale of films, 3) an operation of the business for rent, exchange or sale of videos, and 4) an operation of the video shop business. In case where any shops have already been granted for service facility permit, they must not apply for permit under this Act again. In case of violation, the maximum punishment from 2 0 0 ,0 0 0 -1 ,0 0 0 ,0 0 0 Baht and daily fine throughout violation period are imposed, (2) for enforcement of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) being considerably developed and revised from the original concept of the film production and publication control under the Film Act B.E. 2473 (1930), all stories of films will be censored by the government officials to inspect and consider films prior to permission for showing, (3) the limitation of the freedom of creativity of films, and the opinion expression via film media has been the excessive limitation of the people right and freedom. The enforcement problem of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) that consists of the content aiming at protecting the producers of film and video achievements until causing problems and obstacles. By law, it is necessary for balance of benefit between the creator and the society in enforcement for protection and control of the copyrighted achievements in the said films, whereas the imbalance of benefit between the creator and the society has still been existent in the Film and Video Act B.E. 2 5 5 1 (2008), and (4) the statutory provisions under Section 38 and Section 79 of the Film and Video Act B.E. 2551 (2008) should be reviewed to update and revise the criminal penalty as well as cancellation of some legal provisions to be remained as much as necessary.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons