Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11311
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภาณุพงศ์ ม่วงปิ่น-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-01-26T08:21:33Z-
dc.date.available2024-01-26T08:21:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11311-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยด้านอาหาร รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน ทั้งการคุ้มครอง การลงโทษและการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านมาตรการที่เหมาะสมของกระบวนการกำกับดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยในประเทศไทย การศึกษาฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาจากกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงหนังสือ บทความ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ในเว็บไซต์หน่วยงานรัฐต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นต้น เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและการบริการได้หลากหลายรูปแบบ การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการจึงเป็นสิทธิของผู้บริโภคอันควรจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้น การผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูปในปัจจุบันนั้น มีมาตรการทางกฎหมายที่นำมาใช้บังคับในกรณีผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากสินค้าอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน คือ พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยกฎกระทรวงไม่ได้ยกเว้นสินค้าที่เป็นอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูป ดังนั้น อาหารสำเร็จรูป จึงอยู่ในนิยามของคำว่าสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด หากได้รับความเสียหายจากอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อนสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายนี้ได้ และใช้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาบังคับใช้ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่ได้รับความเสียหาย และนอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ที่อาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อนจัดอยู่ในนิยามของอาหารไม่บริสุทธิ์ที่มีการควบคุม โดยมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหารไว้ในฉบับที่ 98 และฉบับที่ 273 และจากการศึกษาพบว่าการกำกับดูแลและเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูปมีกฎหมายหลายฉบับมาเกี่ยวข้องยังขาดความเป็นเอกภาพ โดยขอเสนอแนะให้มีการกำหนดนิยามของสินค้าให้ชัดเจนว่าหมายความรวมถึงอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูปหรือไม่ และการประกาศมาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหารควรมีการประกาศให้ครอบคลุมสารปนเปื้อนทุกประเภทที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภคอย่างยั่งยืนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกฎหมายอาหาร--ไทยth_TH
dc.subjectอาหารสำเร็จรูปth_TH
dc.subjectการปนเปื้อนในอาหารth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.titleกฎหมายเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กรณีศึกษาเรื่องอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อนth_TH
dc.title.alternativeThe product liability law : case study of contaminants in food processeden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรามหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this independent study is to know background, concept, theories and laws on the consumer protection, the right of obtaining safe food, as well as legal measures regarding instant food with contamination, protection, punishments, and remedies to victims therefrom, and in order to give suggestion on appropriate measures of the monitoring process for safe food in Thailand. This independent study is a qualitative research, acquiring the information from the documentary research, studying relevant laws as well as books, articles, research report, thesis, including e-information on websites of government agencies such as Food and Drug Administration (FDA), etc. in order to make qualitative study and analysis. On the basis of the results of this research, it can be concluded that, the consumer protection is a significant issue that has entirely affected the economy and society due to, at the present, consumers can reach goods and services in various forms. To give the consumer protection to be safe from the use of goods and services therefore are the consumers’ right that should have therefrom. Nowadays, the manufacture of instant goods has a legal measure to be applied if a consumer has suffered damage from contaminated instant food that is: the Unsafe Product Liability Act B.E. 2551. Whereas, the ministerial rules has not excluded cooked food or instant food. Therefore, the instant food shall fall in the definition of the goods specified by law. If anyone has suffered damage from any contaminated instant food, shall take action to claim damages under this law and shall apply the strict liability with. These have provided the victim a good result. In addition, there is the Food Act B.E. 2522 which includes the contaminated instant food in the definition of controlled impure food and there is the Notification of Ministry of Public Health, Re: the Standard of Contamination Substance in Food No. 98 and No. 273 and, from the study, it found that the monitor and remedy to the damage arising from cooked food or instant food is under variously relevant laws. However, such laws are lack of unity. The researcher therefore would like to recommend that there shall define the term of such goods clearly whether it shall include cooked food or instant food or not and the Notification of Ministry of Public Health, Re: the Standard of Contamination Substance should cover all kind of contamination substances affecting the consumers’ health in order for sustainably providing safety and health of the consumersen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons