กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11317
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอสอง จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of Longan production in accordance with good agricultural practice standards for farmers in Song district, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ณัฐพงษ์ วงค์สายแก้ว, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: ลำไย--การผลิต-- ไทย--แพร่
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับลำไยของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 53.1 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.47 ปี ร้อยละ 65.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตลำไยเฉลี่ย 17.75 ปี มีพื้นที่การผลิตลำไยเฉลี่ย 4.98 ไร่มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 787.06 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 8,209.88 บาทต่อไร่ และมีรายจ่ายจากการผลิตลำไยเฉลี่ย 3,333 บาทต่อไร่ (2) เกษตรกรร้อยละ 79.1 มีการปฏิบัติตามหลักของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับลำไยในระดับมาก (3) เกษตรกร ร้อยละ 54.8 เกษตรกรมีความรู้ในระดับมาก (4) ความต้องการมากที่สุดในด้านการสนับสนุน เรื่อง แหล่งสนับสนุน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและหน่วยงานท้องถิ่น(องค์การบริหารส่วนตำบล/ เทศบาล) (5) ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ค่าเฉลี่ย 1.97 บันทึกข้อมูลและการตามสอบค่าเฉลี่ย 1.61 พื้นที่ปลูก ค่าเฉลี่ย 1.57 สุขลักษณะส่วนบุคคล ค่าเฉลี่ย 1.54 วัตถุอันตรายทางการเกษตร ค่าเฉลี่ย0.77 การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ค่าเฉลี่ย 0.75 การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ค่าเฉลี่ย 0.48 และการพักผลิตผลการขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา ค่าเฉลี่ย 0.36 ตามลำดับโดยการวิจัยครั้งนี้คาดว่าเจ้าหน้าที่นักส่งเสริม หน่วยงาน และเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการหาแนวทางการวางแผนการส่งเสริม และการผลิตลำไยตามมาตรฐานทางการเกษตรที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11317
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons