กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11323
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agro-tourism extension in Bannongsanoh, Nongkha sub-district, Kaset Sombun district, Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
ชัยกุล วงษ์สำราญ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย--ชัยภูมิ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองโสนต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษาศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน 4) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านหนองโสน 5)วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า 1) คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 40-49 ปี อายุเฉลี่ย 59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพเกษตรกรรม จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.2 คน ทำนาเป็นกิจกรรมหลักคาดหวังให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว 2) คนในชุมชนเห็นว่าจะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรระดับปานกลาง ในประเด็น ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความพร้อม การรับประโยชน์ การกำหนดทิศทาง ริเริ่มพัฒนาและการประเมินผล 3) คนในชุมชนยังเห็นว่าชุมชนมีศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวระดับน้อย ด้านการบริหารจัดการการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว การให้บริการ และความดึงดูดใจ 4) รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวควรเน้นการท่องเที่ยวด้านทรัพยากรท่องเที่ยว การตลาด และการบริการท่องเที่ยว ส่วนเกษตรกรเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีความคิดเห็นว่ามีความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวในระดับมาก คือ ทรัพยากรท่องเที่ยว และให้นักท่องเที่ยวเข้าใจในประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนมีความหวงแหนในทรัพยากร และมีกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวระดับมากที่สุดในด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค มีปัญหาในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวระดับมากในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 5) มีความต้องการการส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับมาก จากสื่อบุคคล คือ หน่วยงานภาครัฐ สื่อสิงพิมพ์ คือ คู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ วิดีโอ และอินเตอร์เน็ตความต้องต้องการวิธีการส่งเสริม คือ ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมสำหรับบ้านหนองโสน คือการส่งเสริมร่วมกับชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือกับผู้นำชุมชน คนในชุมชนเกษตรกร และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือในการดำเนินงาน คือ คู่มือ อินเตอร์เน็ต วีดีโอ และโทรทัศน์ และใช้วิธีการส่งเสริม คือ ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11323
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons