Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11325
Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเกษตรกร ทายาทของเกษตรกรที่ได้รับสิทธิที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยการเช่าซื้อ
Other Titles: Legal measures for protecting farmers, heirs of farmers obtaining land rights from the agricultural land reform by leasing the land
Authors: วิมาน กฤตพลวิมาน
ชัยวัฒน์ ไพรวัลย์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายเกษตรกรรม--ไทย
การปฏิรูปที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองที่ดินของบุคคลที่รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองที่ดินของบุคคลที่รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ได้หวัน) และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (3) วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองที่ดินของบุคคลที่รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (4) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดมาตรการคุ้มครองที่ดินของบุคคลที่รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ ประมวลกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองที่ดินของบุคคลที่รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทยและของต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) มาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้เกษตรกรสามารถมี ที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม เกษตรกรจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (2) ประเทศไทย มิได้กำหนดข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวทางวิธีการรับมรดก สิทธิในที่ดินของบุคคลคลผู้ที่รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้เป็นกาลเฉพาะ ซึ่งต่างกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่กำหนดระยะเวลาในการห้ามโอนสิทธิที่ได้รับการจัดที่ดินไปแล้ว และสามารถโอนสิทธิให้กับบุคคลอื่นได้ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในการห้ามโอนแล้ว แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของการใช้ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม ส่วนสาธารณรัฐเกาหลีใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ไต้หวัน) มีการคุ้มครองพื้นที่ทางการเกษตรจะโอน ขายหรือให้ใครก็ได้ แต่พื้นที่นั้นต้องใช้ทำการเกษตรกร หรือประกอบธุรกิจทางการเกษตร (3) พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 กำหนดข้อห้ามโอนสิทธิที่ดินไว้เคร่งครัด และไม่สามารถกำหนดขั้นตอนวิธีการการรับมรดกสิทธิของทายาท หรือการโอนสิทธิที่ดินให้กับสถาบันเกษตรกรได้ ประกอบกับไม่มีมาตรการเพื่อคุ้มครองที่ดินในกรณีที่ผู้รับสิทธิไปแล้วนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นโดยไม่ได้ประกอบเกษตรกรรม (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางโดยการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยเสนอให้มีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการรับมรดกและการโอนสิทธิที่ดินไว้ในกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11325
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168797.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons