กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11330
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ในการผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of Super LDD 7 in production of pest control by soil volunteers’village in Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัลยาวรรณ วรษา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สารเคมีทางการเกษตร
สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของหมอดินอาสา 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 3) การยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริม สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ผลการวิจัย พบว่า 1) หมอดินอาสาส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.57 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.27 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลัก ส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เฉลี่ย 16.35 ไร่ มีรายได้จากการปลูกข้าว เฉลี่ย 22,951.43 บาทต่อปี และมีรายจ่ายจากการปลูกข้าว เฉลี่ย 11,273.71 บาทต่อปี มีประสบการณ์การใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 มากกว่า 5 ปี และได้รับข้อมูลข่าวสารการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ในการผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช ในระดับน้อยที่สุด โดยด้านสื่อบุคคลได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ส่วนด้านสื่อต่าง ๆ ได้รับความความรู้จากเอกสารแนะนำ 2) หมอดินอาสามีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด. 7 ในการผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชอยู่ในระดับมากที่สุด โดยส่วนมากมีความรู้ในประเด็น คุณสมบัติในความเป็นกรดของสารเร่งซุปเปอร์ พด. 7,สารควบคุมแมลงศัตรูพืชได้จากการหมักผัก/ผลไม้และที่ได้จากการหมักสมุนไพร และมีความรู้น้อยในประเด็น ลักษณะของสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่หมักสมบูรณ์ 3) การยอมรับเชิงความคิดเห็น พบว่า หมอดินอาสาเห็นด้วยมากที่สุดกับการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พค.7 ในการผลิตสารควบคุมแมลงศัดรูพืช ในประเด็นการผลิตเพื่อควบคุมเพลี้ยและเพื่อควบคุมหนอน และยอมรับนำไปปฏิบัติในระดับมากถึงมากที่สุดในเกือบทุกประเด็น โดยมีการปฏิบัติในระดับน้อย คือ การใช้รำข้าว 100 กรัมเป็นส่วนผสมในการผลิต และการใช้สารควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีการรดลงดิน 4) หมอดินอาสามีปัญหาเรื่องของราคาของวัสดุที่ใช้การผลิต การนำไปใช้มีขั้นตอนยุ่งยาก และสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ไม่เพียงพอ โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมในประเด็นให้กรมพัฒนาที่ดิน มีการจัดอบรมทุกปีโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ และแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำการหมักเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้แก่หมอดินอาสาช่วยลดขั้นตอนการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11330
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons