กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11338
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs for cultivation of plants using less water to replace off-season rice cultivation of farmers in Na Kea District, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิราพร ประชาโชติ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: พืชทดแทน
การส่งเสริมการเกษตร
พืชทดแทน--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกข้าวนาปรัง 3) ปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร และ 4) ข้อเสนอแนะในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 59.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.86 ปี ร้อยละ 62.7 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.01 คน ร้อยละ 35.9 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 14.81 ไร่ เช่าพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.31 ไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี เฉลี่ย 18.44 ไร่ มีผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ย 340.63 กิโลกรัมต่อไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง เฉลี่ย 13.93 ไร่ ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ย 340.63 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 58,708.01 บาทต่อปี รายได้จากการปลูกข้าวนาปี เฉลี่ย 3,665.18 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ย 3,233.04 บาทต่อไร่ มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 28,708.11 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีการเตรียมดินโดยการไถและปรับปรุงบำรุงดิน ปลูกข้าวนาปรังโดยการหว่านน้ำตม ใช้แหล่งน้ำจากน้ำชลประทาน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตข้าวนาปรัง ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวโดยพิจารณาจากเมล็ดข้าวว่าสุกแก่ทั้งรวงไม่มีการลดความชื้น มีการบรรจุ จำหน่ายและเก็บไว้ทำพันธุ์บางส่วน จำหน่ายผลผลิตข้าวนาปรังที่โรงสีทั้งหมด 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านประเด็นการส่งเสริมและการสนับสนุนในระดับมากที่สุด โดยมีปัญหามากที่สุด คือขาดความรู้ด้านการบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย คือ ถั่วลิสง โดยต้องการส่งเสริมเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปลูก การใส่ปุ๋ย อายุการเก็บผลผลิต และการแปรรูป ด้านวิธีการส่งเสริมให้มีการเยี่ยมเยียนรายบุคคล การจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ และเอกสารวิชาการ และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต 4) ข้อเสนอแนะด้านประเด็นการส่งเสริม ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดพืชใช้น้ำน้อย ด้านวิธีการส่งเสริม ควรมีการสร้างเกษตรกรต้นแบบ ด้านการสนับสนุน รัฐควรจัดหา/ประสานแหล่งปัจจัยการผลิตราคาถูก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11338
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons