กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1134
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายของสถานีอนามัยในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the exercise promotion management of health center in Chantaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ จันทร์ประเสริฐ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การออกกำลังกาย
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ ปัญหาอุปสรรคและปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายของสถานีอนามัย ในจังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือสถานีอนามัยในจังหวัดจันทบุรี 106 แห่ง ดำเนินการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการออกกำลังกาย แห่งละ 1 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Crimer's V และ Gramma ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการออกกำลังกาย อายุเฉลี่ย 32.4 ปี เพศหญิง ร้อยละ 63.2 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 51.9 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 68.9 ประสบการณ์ทํางาน 1-2 ปี ร้อยละ 50 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร้อยละ 68.9 ระดับความรู้เรื่องการออกกำลังกายและระดับแรงจูงใจในการทํางานปานกลาง ลักษณะโครงสร้างเป็นสถานีอนามัยลูกข่าย ร้อยละ 71.7 บุคลากรเฉลี่ยแห่งละ 3.3 คน รับผิดชอบประชากรเกลี่ย 3,483.6 คน สภาพแวดล้อมในการทํางาน คือ หาแนวทางจัดกิจกรรมเอง ร้อยละ 66.0 ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นภาครัฐ ร้อยละ 57.5 ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ร้อยละ 81.1 ประชาชนมีรายได้ปีละ 3-5 หมื่นบาท ร้อยละ 40.6 อยู่ในเขตชนบท ร้อยละ 91.5 องค์กรท้องถิ่นให้การสนับสนุน ร้อยละ 84.0 การจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายทุกด้านอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 56.6 โดยมีการจัดองค์กร การวางแผนการบริหารบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน/ประเมินผล การบริหารงบประมาณ ในระดับมาก ร้อยละ 74.5, 69.8, 67.9, 61.3, 60,4, 58.5, 45.3 ตามลำดับ ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทํางาน แรงจูงใจในการทํางาน นโยบายบริหารของต้นสังกัด และการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกาย มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ขาดการวางแผนที่ดี และระบบรายงานขาดคุณภาพคำสําคัญ ส่งเสริมการออกกำลังกาย การจัดการของสถานีอนามัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1134
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86602.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons