Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา เพียรล้ำเลิศth_TH
dc.contributor.authorวัชระ สระแก้ว, 2520-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-01T07:43:11Z-
dc.date.available2024-02-01T07:43:11Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11355en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบหลักกฎหมายไทยและหลักกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเฉพาะกรณีผู้ให้กู้ที่มิใช่สถาบันการเงิน (2) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเฉพาะกรณีผู้ให้กู้ที่มิใช่สถาบันการเงินในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย (3) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เฉพาะกรณีผู้ให้กู้ที่มิใช่สถาบันการเงินในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเอกสาร ได้แก่ ตัวบทกฎหมาย บทความ ตำราวิชาการงานวิจัยวิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษา พบว่า (1) ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสได้บัญญัติว่า การตกลงเรียกดอกเบี้ยต้องชัดแจ้ง และต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยในมาตรา 653 นั้น ไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้ในเรื่องดังกล่าว และเรื่องการชำระหรือเรียกคืนดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสและเยอรมันนั้น ผู้กู้มีสิทธิเรียกคืนหรือหักชำระหนี้ต้นเงินได้ ส่วนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย มาตรา 654 และ 150 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ (2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยมาตรา 653 ไม่ได้บัญญัติครอบคลุมถึงดอกเบี้ยการกู้ยืมเงิน และมาตรา 654, 150 บัญญัติไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะในเรื่องการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปแล้วจะสามารถเรียกคืนดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตราได้หรือไม่ อย่างไร (3) ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ให้ชัดแจ้ง และต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ส่วนมาตรา 654 และ 150 ควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ได้แก่ การห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี หากในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปีหรือหักชำระหนี้ต้นเงินได้ โดยให้มีผลบังคับใช้ได้จริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราth_TH
dc.subjectการกู้ยืมส่วนบุคคลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเฉพาะกรณีผู้ให้กู้ที่มิใช่สถาบันการเงินth_TH
dc.title.alternativeExcessive interest rate related problem in the particular case of the non-financial corporation lendersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this independent study is (1) to compare Thai and foreign jurisprudences on usury in the particular case of the non-financial corporation lenders;(2) to analyze the problems relating to usury in the particular case of the non-financial corporation lenders in Thai Civil and Commercial Code, and (3) to suggest a problem solving guideline on usury in particular case of the non-financial corporation lenders in Thai Civil and Commercial Code. This independent study is a qualitative research using the documentary research method from articles of law, articles, academic textbooks, researches, dissertations, the Supreme Court’s related judgments, as well as electronic data are studied for the data collection, study, analysis, and suggestion of the problem solving guideline accordingly. The finding of the studying result indicated that (1) French Civil Code enacts that an agreement on charge of interest must be explicit in writing. In part of section 653 under Thai Civil and Commercial Code enacts none of any legal provisions for enforcement in such respect. In addition, regarding the payment or recall of an excessive interest rate in French and German Civil Code, the lender is entitled to recall or deduct for the principal repayment. None of the specific legal provisions in such respect is enacted in Section 654 and 150 of Thai Civil and Commercial Code; (2) the enactment of Section 653 of Thai Civil and Commercial Code covers none of the loan interest, and the enactment of Section 654 and 150 is inconsistent with the Excessive Interest Rate Prohibition Act B.E. 2560 (2017) particularly whether and how the excessive interest rate payment can be recalled; and (3) the Section 653 of Civil and Commercial Code should be amended specifying an explicit interest rate, whereas any of the written evidence shall be available and mainly affixed with the borrower’s signature. In part of Section 654 and 150, a revision, for instance, a prohibition to charge an interest rate of more than fifteen percent per annum, should be made to be consistent with the Excessive Interest Rate Prohibition Act, B.E. 2560 (2017). If an excessive interest rate is defined in the contract, it shall be reduced to be fifteen percent per annum or deducted for the principal repayment, and actually effective.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons