Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกิตติ อินนาคกูล, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-02T06:51:28Z-
dc.date.available2024-02-02T06:51:28Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11386-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายคดีความผิดอันยอมความได้ แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญา และแนวคิดเกี่ยวกับการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ในคดีอาญา (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับความผิดอันยอมความได้ในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ รวมถึงศึกษารูปแบบการลงโทษของสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับใช้กับคดีความผิดอันยอมความได้ที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับความผิดที่เกิดจากการสั่งจ่ายเช็ค และคดีพกพาอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับใช้กับคดีความผิดอันยอมความได้ที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความ รวมถึงคดีความผิดที่เกิดจากการสั่งจ่ายเช็ค และคดีพกพาอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารกฎหมายว่าด้วยหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับความผิดอันยอมความได้ แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญา และแนวคิดในการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ในคดีอาญา บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ทั้งของประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้ศึกษาทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและยับยั้งกระทำความผิดซ้ำในความผิดอันยอมความได้ ความผิดที่เกิดจากการสั่งจ่ายเช็ค และการพกพาอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียน ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดและหลักกฎหมายของคดีความผิดอันยอมความได้ และแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญา แม้ความผิดอันยอมความได้เป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อเอกชนเป็นการส่วนตัวมากกว่าสังคม แต่ตามแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญา การที่รัฐกำหนดให้ความผิดอันยอมความได้เป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษไว้แสดงว่ารัฐให้ความสำคัญว่าความผิดอันยอมความได้นั้นก็มีผลกระทบต่อสังคมด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ควรกำหนดให้เป็นเรื่องความรับผิดทางแพ่ง ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ในคดีอาญา วิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิด รวมถึงมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต รัฐจึงต้องมีมาตรการบางอย่างมาบังคับใช้เพื่อลดความเป็นอันตรายของบุคคลนั้น (2) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่น มีบทบัญญัติความผิดบางฐานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับความผิดอันยอมความได้ ส่วนประเทศอังกฤษ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะว่าความผิดประเภทใดเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ในการดำเนินคดีอาญานั้นได้ใช้หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน โดยมีหลักว่า ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ดังนั้น เมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นประชาชนจึงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย อำนาจฟ้องจึงเป็นของประชาชนทุกเรียบร้อยของสังคม ดังนั้น เมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นประชาชนจึงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย อำนาจฟ้องจึงเป็นของประชาชนทุกคน ในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายทั้งสามประเทศดังกล่าว แม้เป็นความผิดประเภทที่เอกชนได้รับความเสียหายมากกว่าสังคม แต่ในการดำเนินคดีก็คำนึงถึงความสงบสุขของสังคมเป็นข้อสำคัญด้วย ส่วนรูปแบบการลงโทษของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้แบ่งโทษอาญาเป็นหลายลักษณะ เพื่อให้สามารถนำโทษมาใช้บังคับได้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละคน และโทษบางอย่างนำมาใช้เพื่อป้องกันสังคมจากอันตรายที่อาจเกิดจากผู้กระทำความผิดนั้นในอนาคต ได้แก่โทษเสริม และโทษห้ามหรือจำกัดสิทธิ (3) การที่กฎหมายบัญญัติให้การกระทำใดเป็นความผิดอาญา แสดงว่าหมู่ชนส่วนมากเห็นว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อสังคม และมิอาจให้อภัยได้ การที่กฎหมายบัญญัติให้ความผิดอันยอมความได้เป็นความผิด แสดงว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดมิใช่มีผลกระทบต่อเอกชนเฉพาะรายเท่านั้น เมื่อคดีความผิดอันยอมได้ต้องยุติลงด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความ จึงอาจทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย หากมีโอกาสก็อาจกระทำความผิดซ้ำอีก ส่วนความผิดที่เกิดจากการสั่งจ่ายเช็ค หากเช็คนั้นถูกธนาคารการปฏิเสธการจ่ายเงิน ย่อมทำให้การชำระหนี้ด้วยเช็คขาดความน่าเชื่อถือ อันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจตามมา และความผิดเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียน กรณีที่ยังไม่ได้นำอาวุธปืนไปใช้ทำผิดอย่างอื่น ในการพิพากษาลงโทษศาลต้องใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายบทหนักที่สุด ศาลจึงไม่อาจริบอาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ได้ โทษตามกฎหมายจึงยังไม่อาจคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชน อันอาจเกิดมีขึ้นตามมาจากการพกพาอาวุธปืนนั้นได้อย่างเพียงพอ (4) สมควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ในเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัย ให้ครอบคลุมถึงผู้กระทำความผิดอันยอมความได้ที่คดีสิ้นสุดลงด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความ รวมถึงผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเช็ค และผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดนั้นมีความเป็นอันตรายต่อสังคม เพื่อคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิดในลักษณะเช่นเดิมซ้ำอีก รวมถึงอันตรายอันอาจเกิดจากการใช้อาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียนนั้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำth_TH
dc.subjectความผิดอันยอมความได้th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleมาตรการป้องกันและยับยั้งมิให้กระทำความผิดซ้ำในคดีความผิดอันยอมความได้th_TH
dc.title.alternativeMeasures to prevent and deter form committing repeat compoundable offensesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study concepts and legal principles about compoundable offences, concepts related to specifying criminal responsibility, and concepts related to the application of security measures in criminal cases; 2) to study laws concerning compoundable offences in Thailand, Germany, Japan and England as well as forms of punishment in France; 3) to analyze legal problems involved with enforcement measures in cases of compoundable offences along with offences involving payment by check or carrying a registered firearm; and 4) to recommend approaches for revising laws involved with enforcement measures in cases of compoundable offences and offences involving payment by check or carrying a registered firearm. This was a qualitative research. Different kinds of documents from Thailand and other countries were consulted, including books, textbooks, theses, academic articles, research reports, laws, Supreme Court rulings, and electronic documents on the internet. The data were analyzed using the content analysis method. The results showed that 1) According to concepts and legal principles about cases involving compoundable offences and concepts related to specifying criminal responsibility, even though compoundable offences affect private entities more than society at large, still, because the state categorizes compoundable offences as criminal offences, this indicates that the state places importance on them and deems that they do impact society. As for the idea of applying security measures in criminal cases, the purpose is to prevent harm and wrongdoing and to guard against repeat offences. 2) The laws of Germany and Japan have some stipulations about offences that are similar to compoundable offences. The laws of England to not specify which types of offences are compoundable offences, but they use the principles of criminal procedure by the people. In the execution of criminal cases in other countries, even when an offence causes more damage to a private entity than to society at large, the justice authorities take into primary consideration the peace and wellbeing of society. In France, there are many different forms of punishment that can be used as appropriate in the prevention and suppression of crime. 3) The fact that the law categorizes compoundable offences as criminal offences shows that the majority of people think that compoundable offences do impact society and are not forgivable, so the damages incurred are not suffered solely by the complainant. When a payment is made by check, if the issuing bank refuses to honor that check, it is no longer a valid form of payment, and that can affect the economic system. When a complainant halts a legal case and the accused is not punished, then if they are a repeat offender, they might be encouraged to continue committing the same crime in the future. As for carrying a registered firearm, if the offender does not use the weapon for committing any crime, when judging the case the court may use penalties under the Firearms Act, which has the strictest penalties. The court cannot seize the weapon under Clause 371 of the Criminal Code. This indicates that at present the law does not provide sufficient protection against bodily harm and potential loss of life. 4) The author recommends that the Criminal Law Code should be amended on the topic of security methods by requiring a bond with security in cases of compoundable offences, and banning payment by check while allowing seizure of weapons as in the French law to address problems with bad checks and carrying of registered firearmsen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168798.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons