Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11390
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณวิภา เมืองถ้ำ | th_TH |
dc.contributor.author | พงศกานต์ จาดสอน, 2537- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-02T07:17:40Z | - |
dc.date.available | 2024-02-02T07:17:40Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11390 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านการขอปล่อยชั่วคราวโดยมาตรการกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว (2) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ด้านการขอปล่อยชั่วคราวโดยมาตรการกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราวเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไข ให้การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารทางกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว โดยศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยและการทวบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวผลจากการศึกษา (1) ตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว เมื่อผู้ใดได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายต้องได้รับตามกฎหมาย แต่ทว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด ผู้นั้นก็ต้องได้รับสิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนให้สิ้นข้องสงสัย (2) กฎหมายในประเทศไทยได้มีการกำหนดการปล่อยชั่วคราวไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น ซึ่งการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยบางกรณีได้มีการใช้หลักทรัพย์เพื่อแลกมาซึ่งสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำของคนจนและคนรวยในการได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ ทำให้ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวถูกกุมขังโดยไม่จำเป็น (3) การขอปล่อยชั่วคราวในต่างประเทศได้มีการปล่อยชั่วคราวที่แตกต่างกันไป โดยในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวแทนการใช้หลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวเพื่อลดความเลื่อมล้ำในการใช้หลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราว แต่ในสหพันธรัฐเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสมีเพียงแค่การปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกันเป็นหลัก (4) การปล่อยชั่วคราวในประเทศไทย ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราว เช่น การแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งประเทศอังกฤษได้มีการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว เช่น รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจสัปดาห์ละครั้งหรือวันละครั้ง เป็นต้น และประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราว เช่น การกำกับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น (5) จากการศึกษาสมควรแก้ไขคุณสมบัติผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการให้บุคคลใกล้ชิดที่อาจทำการช่วยเหลือรายงานพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตลอดจนจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้ทราบวิธีการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | การปล่อยชั่วคราว--ไทย | th_TH |
dc.subject | การคุมประพฤติ--ไทย | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.title | แนวทางการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา | th_TH |
dc.title.alternative | Guidelines for appointing supervisors for temporary-released prisoners in criminal case | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were (1) to study laws, regulations, concepts, theories, documents, and pieces of literature related to the request for temporary release by regulatory measures in the temporary release state, and appointment and performance of a supervisor for provisional release (2) to compare laws, regulations, concepts, and theories on requesting temporary release by regulatory measures to foreign laws. (3) to study the condition of obstacles affecting the appointment and performance of the supervisor. (4) to suggest guidelines for improvement, and amendment, to make the appointment and performance of the supervisor of temporarily released prisoners more efficient. This research is legal research that has been conducted by the qualitative method. It has been done by researching legal documents on the appointment of supervisors temporarily released prisoners, the Constitution of the Kingdom of Thailand provisions of laws, rules, regulations, textbooks, academic articles, research studies, as well as foreign laws. The researcher synthesized and analyzed the data qualitatively from the acquired information and literature review. Those pieces of information were used as a guideline to suggest solutions to the issue of temporary release by appointing a supervisor. The results of the study (1) are based on the general concept and theory of temporary release. When a person is accused of being an offender against the law, he or she must have a legal proceeding. However, anyone who is accused of committing crimes, that person must be entitled to liberty according to human rights principles and has the right of freedom to prove his or her innocence. (2) The law in Thailand stipulates a provisional release in the Constitution of the Kingdom of Thailand Criminal Procedure Code, etc., in which the temporary release of the accused or defendant in some cases has been used securities in exchange for the liberties of the accused or defendant. This condition causes the gap between the poor and the rich in the acquisition of freedom. This puts innocent people who don't have money to become unnecessarily imprisoned. (3) Temporary release requests abroad are different. In the United Kingdom and the United States, provisional release conditions have been imposed instead of the use of securities for provisional releases in order to reduce the financial bias of using securities for provisional releases. But in Germany and France, there are only temporary releases based on collateral. (4) In Thailand, there are conditions for temporary release. For example, the appointment of a supervisor for temporary release, etc. The UK has also set conditions for temporary releases, such as reporting to the police at the police station once a week or once a day. And, the United States conditions for temporary releases have been set, such as supervision after temporary releases via mobile phones, etc. (5) From the study, it is suggested to revise the qualifications of the supervisors to prevent close persons who may be assisted to report the behavior accurately as well as prepare clear guidelines so that the operators know how to properly and effectively. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168806.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License