Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11393
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จำเนียร ราชแพทยาคม | th_TH |
dc.contributor.author | สุกัญญา สิงตะสุวรรณโณ, 2527- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-02T07:44:16Z | - |
dc.date.available | 2024-02-02T07:44:16Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11393 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 (2) ปัจจัยในการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลกับการพัฒนาองค์การตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 และ (3) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดสตูล จำนวน 66 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ 10 คน และเป็นผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ 56 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน (2) ความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยในการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลกับการพัฒนาองค์การตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ปัญหาที่พบคือ การปรับตัวของบุคลากรที่ล่าช้าต่อการเปลี่ยนแปลง สาเหตุเพราะวัฒนธรรมขององค์การ สถานที่และงบประมาณ ผลลัพธ์ตามเป้าหมายเรื่องการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังมิให้หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ ข้อเสนอแนะคือ ควรพัฒนาบุคลากรเพื่อการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำคู่มือการลดต้นทุนการปฏิบัติงาน การลดใช้พลังงานขององค์การ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังอย่างจริงจัง การติดตามหลังพ้นโทษ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกร่วมติดตามผู้พ้นโทษ ให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษด้านอาชีพ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | การปฏิรูประบบราชการ | th_TH |
dc.subject | เรือนจำ--ไทย--สตูล | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.title | การพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to study (1) opinion on level of the development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework (2) factors regarding the development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework, and (3) problems and recommendation on development guidelines of the development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework. This study used mixed method research methodology. The population was the whole number of 66 officials of Satun Provincial Prison. They were divided 10 officials as informants for qualitative research, and 56 officials for quantitative research. The research instrument for qualitative research was an in-depth interview form and for quantitative research was a questionnaire. The statistic for quantitative data analysis employed frequency, percentage, mean and standard deviation.For qualitative data analysis employed inductive content summary. The research findings revealed that (1) an overview of opinion level of the development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework was at the highest level. The highest mean was the outcome implementation (2) an overview of opinion of factors regarding the development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework was at the highest mean, and (3) the Problems found were the retard adjustment of the officials toward the changes caused by organizational cultures, place and budget, the unsuccessfulness of target goal on prisoners’ behavior for repeating offences. Recommendation were that there should develop ability of officials for efficient public service, provide manuals for cost reduction on implementation, energy and apply digital technology to work, formulate plan to develop prisoner’s behavior seriously, follow-up after acquitting by collaborate with external organizations and help for career. | en_US |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168779.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License