กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11393
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Satun Provincial Prison according to Government 4.0 Framework
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม
สุกัญญา สิงตะสุวรรณโณ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การปฏิรูประบบราชการ
เรือนจำ--ไทย--สตูล
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 (2) ปัจจัยในการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลกับการพัฒนาองค์การตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 และ (3) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดสตูล จำนวน 66 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ 10 คน และเป็นผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ 56 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน (2) ความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยในการพัฒนาเรือนจำจังหวัดสตูลกับการพัฒนาองค์การตามกรอบแนวทางระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ปัญหาที่พบคือ การปรับตัวของบุคลากรที่ล่าช้าต่อการเปลี่ยนแปลง สาเหตุเพราะวัฒนธรรมขององค์การ สถานที่และงบประมาณ ผลลัพธ์ตามเป้าหมายเรื่องการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังมิให้หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ ข้อเสนอแนะคือ ควรพัฒนาบุคลากรเพื่อการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำคู่มือการลดต้นทุนการปฏิบัติงาน การลดใช้พลังงานขององค์การ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังอย่างจริงจัง การติดตามหลังพ้นโทษ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกร่วมติดตามผู้พ้นโทษ ให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษด้านอาชีพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11393
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168779.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons