Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11420
Title: การสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุงของนายหนังประเคียง ระฆังทอง
Other Titles: The communication of political information via shadow puppets of shadow puppet master Prakieng Rakangtong
Authors: วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวน เพชรแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การสื่อสารทางการเมือง
หนังตะลุง
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุงของนายหนังประเคียง ระฆังทอง เกี่ยวกับ 1) คุณลักษณะทางการสื่อสาร 2) เนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอ 3) ปัญหาการสื่อสาร 4) ความต้องการประเด็นเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของผู้ชม และ 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะทางการสื่อสาร คือ รักในการสื่อสาร รักการเล่าเรื่องราวการเมือง มีการวิเคราะห์ผู้ชมหนังตะลุง เลือกสรรประเด็นเนื้อหาให้สอดคล้องผู้ชมและพื้นที่ที่ไปแสดง ใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย พูดจาตรงไปตรงมาจริงจัง มีความชัดเจนในน้ำเสียง ลีลา และท่าทาง โดยถ่ายทอดเนื้อหาทางการเมืองผสมผสานกับความสนุกสนาน ด้วยเจตคติที่มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นในพลังของประชาชนที่เป็นเจ้าของอธิปไตยมีความใฝ่รู้ทางการเมืองด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากการติดตามข่าวสารบ้านเมืองและการแลกเปลี่ยนความรู้กับประชานในท้องถิ่น 2) ประเด็นเนื้อหาทางการเมืองมีความสอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา เน้นนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน พฤติกรรมการบริหารประเทศของชนชั้นปกครอง พฤติกรรมการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น การรักษาและคุ้มครองในสิทธิของประชาชน ความยุติธรรมในสังคม ปัญหาสังคมด้านต่างๆและบทบาทหน้าที่ของประชาชนทางการเมือง ส่วนรูปแบบการนำเสนอใช้รูปแบบการตีแผ่ความจริง หยิกแกมหยอก การเล่าและวิจารณ์ข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อมุ่งสร้างความความรู้ความเข้าใจ ความประทับใจ และการจดจำเนื้อหาได้ดี 3) ปัญหาการ สื่อสารที่สำคัญคือ ผู้ชมบางส่วนยังขาดความรู้ทางการเมือง ขาดการมีประสบการณ์ร่วมทางการเมืองในช่วงเวลาเดียวกันกับนายหนังประเคียง 4) ความต้องการประเด็นเนื้อหาของผู้ชม คือ นโยบายความมั่นคงและการป้องกันประเทศ การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน การสร้างรายได้ การมีส่วนร่วมของประชาชน การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมือง การปฏิรูปการเมืองการปกครอง นโยบายการแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาการดูดกลืนทางวัฒนธรรมโดยมีรูปแบบการนำเสนอที่ให้ความรู้ผสมผสานกับความสนุกสนานผ่านตัวตลก และ 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร คือ นายหนังตะลุงในฐานะผู้ส่งสารต้องมีอุดมการณ์ทางการเมือง มีความคิด ความเชื่อ มีแบบแผนเกี่ยวกับหลักการทางการเมือง และเห็นถึงคุณค่าทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มีการวิเคราะห์ผู้ชมด้านระดับความรู้ ความคิด หรือความเชื่อ ค่านิยมทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้ชมในแต่ละท้องถิ่น เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ทางการเมืองและสนใจติดตามสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมอยู่เสมอ เรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถเลือกสรรประเด็นเนื้อหาทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลามานำเสนอให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ชม โดยมีการพัฒนารูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้ชมรุ่นใหม่ พัฒนาเทคนิคการนำเสนอการขับร้องตามบทร้อยกรอง บทเจรจาของตัวละคร มีการเพิ่มตัวละครใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายและทันยุคสมัย และมีการใช้ดนตรีสมัยใหม่ผสมกับดนตรีดั้งเดิมของคณะหนังตะลุง
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11420
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157066.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons