Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11431
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวินี ไพรทองth_TH
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ เสาร์แดน, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-08T04:24:05Z-
dc.date.available2024-02-08T04:24:05Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11431en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการ (2) เพื่อทราบถึงกฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการตามกฎหมายแรงงาน สิทธิสวัสดิการของรัฐ และการคุ้มครองความรับผิดทางละเมิดในกฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ และ (3) เพื่อสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาของการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการในหน่วยงานของรัฐการวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมายประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาการวิจัยจาก หนังสือ ร่างพระราชบัญญัติ วารสารกฎหมาย วารสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ เพื่อทำการหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดของการจ้างเหมาบริการ แนวคิดและทฤษฎีเรื่องความคุ้มครองการกระทำความผิดทางละเมิด และแนวคิดว่าด้วยทฤษฎีการคุ้มครองสวัสดิการของรัฐ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการ (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการของประเทศไทย ได้แก่พระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ส่วนกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้แก่ บัญญัติว่าด้วยบุคลากรผู้แทนของ สหพันธรัฐและมลรัฐแทนรัฐบัญญัติว่าด้วยสถาบันแรงงาน 1972 กฎหมายประเทศฝรั่งเศส คือ กฎหมาย ทั่วไปว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายของสหรัฐอเมริกา คือ รัฐบัญญัติว่าด้วยสัญญาบริการ 1965 (3) ปัญหาที่พบคือ เนื่องด้วย หนังสือกระทรวงการคลัง มีแนวทาง มิให้พนักงานจ้างเหมาบริการอยู่ใน ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการ ยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวข้างต้น รวมถึงเพิ่มบทนิยามให้การจ้างเหมาบริการ มีฐานะ เป็นลูกจ้างหรือการจ้างแรงงานแบบพิเศษ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และการแก้ไขนิยาม ให้พนักงานจ้างเหมาบริการ มีฐานะเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมถึง ปรับปรุง แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้าง เหมาบริการอย่างถูกต้องและเป็นธรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายแรงงาน--ไทยth_TH
dc.subjectพนักงานเจ้าหน้าที่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการคุ้มครองสิทธิของพนักงานจ้างเหมาบริการในหน่วยงานของรัฐth_TH
dc.title.alternativeProblems of right protection of contracted employees in government authoritiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168795.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons