กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11452
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication models to create participation in the campaign of early childhood oral hygiene development, Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ เย็นจะบก, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัฑฒนา จันทร์จรัสวัฒนา, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การสื่อสารสาธารณสุข--ไทย
ปาก--การดูแลและสุขวิทยา--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) บริบทที่ส่งผลต่อความสำเร็จ 2) กระบวนการสื่อสาร และ 3) เสนอรูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทที่ส่งผลต่อความสำเร็จเรื่องสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในโรงเรียน คือ (1) ครอบครัว (2) โรงเรียน (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (4) การประชาสัมพันธ์ (5) การสร้างการมีส่วนร่วม (6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จคือ ปัจจัยภายนอกเรียงตามลำดับคือ นโยบาย สิ่งแวดล้อม/ชุมชน ความเชื่อของผู้ปกครองและครูของเด็กปฐมวัย การประชาสัมพันธ์และการบริหารจัดการเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายในเรียงตามลำดับคือ วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย และการพาเด็กไปพบทันตแพทย์/โรงพยาบาลเพื่อตรวจฟัน 2) กระบวนการสื่อสาร พบเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ (1) ผู้ส่งสารคือ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2) เนื้อหาหลักคือ วิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก (3) ช่องทางการสื่อสารที่ใช้คือ ครู ทันตแพทย์ แผ่นพับเว็บไซต์ การอบรม และกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นการเล่านิทาน กลยุทธ์การสื่อสารที่ใช้มากที่สุด คือ การทำงานผ่านเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เกิดความรู้ที่ถูกต้อง ทัศนคติและพฤติกรรมในการดูแลช่องปากเด็กดีขึ้น 3) รูปแบบการสื่อสารหลักที่ควรใช้คือ การสื่อสารแบบสองทางและทางเดียว เริ่มจากหน่วยงานระดับนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติการ คือ โรงเรียน ครอบครัว และ ชุมชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159473.pdfเอกสารฉบับเต็ม35.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons