Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11456
Title: มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายแก่คู่กรณีจากการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ
Other Titles: Legal measures of damage remedy to parties for cancellation of public procurement
Authors: กฤติญดา เกิดลาภผล
สุวิมล จูมปู, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการฟ้องคดีขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างและการขอให้เพิกถอนการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง สถานะทางกฎหมายในการกำหนดนิติสัมพันธ์ของคู่กรณีในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนมีการลงนามในสัญญาและการกำหนดค่าเสียหายแก่คู่กรณี (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักความรับผิดก่อนสัญญาทั้งในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศและหลักเอกสิทธิ์ความคุ้มครองของหน่วยงานรัฐในสัญญาทางปกครอง (3) ศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ ลักษณะของความรับผิด สิทธิการฟ้องคดี และมาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาความเสียหายแก่คู่กรณี (4) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิการฟ้องคดีเพื่อขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและขอให้เพิกถอนการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงการกำหนดสถานะทางกฎหมายของนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (5) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยค้นคว้าจากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลสารสนเทศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวคำวินิจฉัยของศาล รวมทั้งหลักกฎหมายไทยและหลักกฎหมายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่ามีข้อจำกัดของกฎหมาย 2 ประการ คือ (1) ความเหมาะสมของการกำหนดสถานะทางกฎหมายในการกำหนดนิติสัมพันธ์ของคู่กรณีในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนมีการลงนามในสัญญาและการกำหนดค่าเสียหายแก่คู่กรณี เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้ผู้ยื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างที่ถูกยกเลิกจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากหน่วยงานของรัฐไม่ได้ และจะอุทธรณ์ในเรื่องการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้ และการกำหนดนิติสัมพันธ์ของคู่กรณีและการกำหนดค่าเสียหายในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนมีการลงนามในสัญญายังมีความไม่เหมาะสม (2) ข้อจำกัดสิทธิการฟ้องคดีขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง ในการศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มความในมาตรา 67 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง และเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 67/1
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11456
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168810.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons