Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11459
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปัณณวิช ทัพภวิมลth_TH
dc.contributor.authorอาทิตยา บริพันธ์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-12T07:30:36Z-
dc.date.available2024-02-12T07:30:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11459en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการและความเป็นมาของการดำเนินการทางวินัย การพิจารณาโทษทางวินัย และการพิจารณาอุทธรณ์ของข้าราชการครู 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาโทษทางวินัย การพิจารณาลงโทษทางวินัย และการอุทธรณ์ของข้าราชการครู 3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย และการอุทธรณ์ของข้าราชการครูของประเทศไทยและต่างประเทศ 4) เสนอแนะมาตรการดำเนินการทางวินัย การลงโทษวินัยและอุทธรณ์ที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ข้าราชการครู การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจากเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในส่วนของการวิเคราะห์ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้างต้น เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการการดำเนินการทางวินัย การลงโทษทางวินัย และการอุทธรณ์ ของข้าราชการครูตามการชี้มูลมูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้น มีหลักประกันความมั่นคงและมาตรฐานความเป็นธรรมในการลงโทษวินัยต่ำกว่าการลงโทษวินัยโดย องค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู 2) ระบบกฎหมายประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต่างมีกฎหมายที่ใช้ในเรื่องการลงโทษทางวินัยและการอุทธรณ์โดยองค์กรบริหารงานบุคคล 3) จากการเปรียบเทียบการดำเนินการทางวินัยและการอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่าทั้งสองประเทศมีดำเนินการทางวินัยโดยองค์กรบริหารงานบุคคล เช่นเดียวกันส่วนระบบอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจะเป็นการอุทธรณ์ในระบบบังคับให้อุทธรณ์ ในฝ่ายปกครองก่อนเสมอ แต่ระบบอุทธรณ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสให้เลือกอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองหรือจะเลือกฟ้องต่อศาลปกครองเลยก็ได้ 4) ควรแก้ไขมาตรการดำเนินการทางวินัยจากให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นให้อำนาจองค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectข้าราชการ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับวินัยและอุทธรณ์ของข้าราชการครูโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.th_TH
dc.title.alternativeLegal issues on disciplines and appeals of civil-service teacher by National Anti-Corruption Commission (NACC)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168807.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons