Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11461
Title: | การสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชน |
Other Titles: | Communicating wisdom through communities based tourism |
Authors: | วิทยาธร ท่อแก้ว รสิกา อังกูร, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุภาภรณ์ ศรีดี วศิน ปัญญาวุธตระกูล |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม--ระบบสื่อสาร การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนเชิงวัฒนธรรมตำบลไทรน้อยและชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านน้ำเชี่ยวเกี่ยวกับ (1) บริบทของชุมชน (2) กระบวนการและวิธีการสื่อสารภูมิปัญญา (3) การนำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การสื่อสารภูมิปัญญาของชุมชนท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนท่องเที่ยวไทรน้อยเป็นชุมชนที่มีอาชีพทำการเกษตร ทำขนมไทย ทำอิฐมอญ มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีบ้านเรือนทรงไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักผสานกับวิถีการดำรงชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ มีการสืบทอดงานบุญโบราณ เป็นทุนทางวัฒนธรรมประเพณี มีปราชญ์ด้านขนมไทยและมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งจัดเป็นทุนทางทรัพยากรบุคคลของชุมชน ส่วนชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวเป็นชุมชนทำประมงพื้นบ้านแบบมือเปล่า มีอัตลักษณ์ชุมชน คือ เป็นชุมชนสองศาสนาสามวัฒนธรรม มีงานประเพณีแข่งเรือพายด้วยลำไม้ไผ่ที่ผสานสามเชื้อชาติ มีป่าชายเลนและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ้งเป็นทุนทางธรรมชาติที่โดดเด่นในการทำการท่องเที่ยว มีทุนทางทรัพยากรบุคคลของชุมชน คือ มีปราชญ์ด้านประมงพื้นบ้านและผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นในการพัฒนา (2) กระบวนการสื่อสารภูมิปัญญาชุมชนท่องเที่ยวทั้งสองแห่งมุ่งเน้นใช้การสื่อสารใน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการผลิต ขั้นการสืบทอด และขั้นการประยุกต์ ซึ่งใช้วิธีการสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการสื่อสารชุมชนมีการสื่อสารชุมชนทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน การสื่อสารทั้งแนวราบและแนวดิ่ง การสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการควบคู่กัน ส่วนวิธีการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมใช้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมดำเนินการ ร่วมจัดสรรและแบ่งปันผลประโยชน์ และร่วมติดตามประเมินผล (3) รูปแบบการสื่อสารภูมิปัญญาของชุมชนท่องเที่ยวทั้งสองแห่ง คือ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการสื่อสารชุมชน โดยใช้ 2 กลยุทธ์หลักผสมผสานกัน กลยุทธ์แรก คือ แผนที่นำทางการสื่อสารภูมิปัญญาชุมชนอย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ที่สอง คือ กรอบความคิดเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามแนวคิด WELCOME โมเดล ประกอบด้วย W (Wisdom) การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาสานต่อและสืบทอดอย่างเป็นระบบ E (Experience) การสร้างประสบการณ์ให้กับทั้งสมาชิกในชุมชน และนักท่องเที่ยว L (Learning) การสร้างการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมแก่นักท่องเที่ยวCOM (Communication) การใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และ E (Elegance) การนำมาซึ่งความสง่างามและความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11461 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159476.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License