Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11467
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปกกมล เหล่ารักษาวงษ์th_TH
dc.contributor.authorนาฎอนงค์ เจนการ, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-02-14T04:19:46Z-
dc.date.available2024-02-14T04:19:46Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11467-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยผ่านการรับรองจริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์ตามหมายเลข IRB-SHS 2019/1004/57 จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 223 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่าง กรณีทราบจำนวนประชากร ซึ่งคำนวณได้ทั้งหมด 157 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และรายงานผล คือ ค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ 70 - 79 ปี อายุเฉลี่ย 73.8 ปี เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้เพียงพอ อาศัยอยู่กับคู่สมรส เป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีระยะเวลาการเจ็บป่วยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มใด ๆ ในชุมชน (2) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในภาพรวม อยู่ในระดับดี และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ อายุ ความเพียงพอของรายได้ สิทธิการรักษาพยาบาล สถานที่ที่เข้ารับบริการ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและการสนับสนุนทางสังคม โดยทั้ง 2 ปัจจัย สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้ร้อยละ 34.97 (R2 = 0.349) ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เข้าถึงบริการสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีการปรับตัวและมีการวางแผนในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิต--ไทยth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting quality of life of the elderly with non-communicable diseases in Bangsala subdistrict, Pak Phanang district, Nakhon Si Thammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis survey research aimed (1) to identify demographic characteristics of elderly persons, (2) to assess the quality of life of elderly persons, and (3) to explore factors affecting the quality of life of elderly persons, all with non-communicable diseases (NCDs) in Bang Sala subdistrict, Pak Phanang district, Nakhon Si Thammarat province.Through the Ethics of Human Research Certificate, number IRB-SHS 2019/1004/57 from the Health Sciences Program Sukhothai Thammathirat Open University. The study involved 157 elderly persons randomly selected without replacement from 223 elders aged 60 years and over with a history of NCDs. The sample size was calculated using the finite population proportion method. Data were collected using the Thai version of the WHO Quality of Life tool ( WHOQOL–26), a 26-item questionnaire, with the reliability value of 0.93. The statistics used for data analysis and reporting were frequency distribution, percentage, minimum, maximum, standard deviation and multiple regression analysis. The results showed that: (1) among the respondents, most of them were married females aged 70–79 years (mean, 73.8), living with their spouses; they had no occupation but had sufficient income; they mostly had hypertension and had been ill for 5 years or more, had medical care at the subdistrict health promoting hospital under the universal health care scheme; and they were not a member of any groups in community; (2) the overall quality of life of elderly respondents was at the good level; and (3) the factors significantly affecting their quality of life were age, income sufficiency, medical care rights, treatment facility, self-esteem, health service system, family relationship, and social support; two of which (self-esteem and social support) could predict their quality of life collectively at 34.97% (2 R = 0.349). These results can be used as a guideline for planning to solve the problems related to quality of life of NCD elderly persons. Importance should be attached to promoting self-esteem, enhancing access to health services, and getting social support so that they can adapt and plan their lifestyle appropriately for good quality of life.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168957.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons