Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11490
Title: | แนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Guidelines in legislative improvements for conducting lending business for lslamic Bank of Thailand |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต กูยไวนี สตอหลง, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สินเชื่อ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเงินอิสลามที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ (3) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร (4) ศึกษาถึงปัญหาการให้สินเชื่อภายใต้หลักศาสนาอิสลามของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ (5) แนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ บทความทางวิชาการ งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทาการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะในการปรับปรุงพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎีด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินได้มีการกำหนดไว้โดยชัดเจนในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เป็นการให้สินเชื่อโดยการให้กู้ยืมเงินหรือธุรกรรมที่ได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และไม่ได้กำหนดการให้สินเชื่อภายใต้หลักการเงินอิสลามที่ห้ามให้สินเชื่อที่ผูกพันกับดอกเบี้ยไว้ (2) การให้สินเชื่อภายใต้หลักการเงินอิสลามได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยคำปรึกษาและคำแนะนาของคณะที่ปรึกษา (ด้านศาสนา) (3) การส่งเสริมอุตสาหกรรมการเงินอิสลามในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร มีการพัฒนาระบบการเงินภายในประเทศโดยการพัฒนาโครงสร้างและกฎหมายเพื่อรองรับระบบการเงินอิสลามให้มีความเท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการเงินอิสลามเป็นการทั่วไป (4) ไม่มีกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจตามหลักการเงินอิสลามที่ชัดเจนและครอบคลุม ทำให้เกิดความสงสัยในการตีความในธุรกรรมบางประเภทว่าเป็นการซื้อขายที่แท้จริงหรือไม่ และอาจมีปัญหาในการตีความเรื่องนิติกรรมอำพรางในการให้สินเชื่อ (5) ควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ในประเด็นถ้อยคำ คำนิยาม และกำหนดแนวทางในการผ่อนปรนและยกเว้นภาระภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฏหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11490 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License