Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11517
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธำรงเจต พัฒมุข | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจมาภรณ์ ชุ่มจิตร, 2524- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-19T08:54:26Z | - |
dc.date.available | 2024-02-19T08:54:26Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11517 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและการจัดการของเกษตรกร 3) วิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรที่ให้ข้อมูล 267 คน เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั้งหมดในพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในปี 2557 และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 3 – 4 คน และมีแรงงานทางการเกษตรจำนวน 1 – 2 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจ้างแรงงาน ขนาดพื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 11.88 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของตนเอง โดยปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 23.87 ต้นต่อไร่ มะพร้าวมีอายุเฉลี่ย 32.74 ปี ก่อนหนอนหัวดำระบาด เกษตรกรเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 815.81 ผลต่อไร่ต่อปี ขายได้ราคาเฉลี่ย 5.42 บาทต่อผล หลังหนอนหัวดำระบาด เกษตรกรเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 482.82 ผลต่อไร่ต่อปี และขายได้ราคาเฉลี่ย 17.24 บาทต่อผล เกษตรกรส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวผ่านสื่อบุคคลจากนักวิชาการเกษตรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและวิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรมีวิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวมากที่สุดคือ การปล่อยแตนเบียน Bracon hebetor และรองลงมาใช้สารเคมี emamectin benzoate 1.92% EC ฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร และ 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนสารเคมีในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว รวมทั้งสนับสนุนพ่อ – แม่พันธุ์ และวัสดุในการผลิตขยายพันธุ์แตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ทั้งวิธีการเขตกรรม การใช้ชีวภัณฑ์และชีววิธี และการใช้สารเคมี และกรมส่งเสริมการเกษตรควรพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทในการเข้าไปป้องกันกำจัดศัตรูพืชในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มะพร้าว--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์--โรคและศัตรูพืช | th_TH |
dc.title | การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Coconut black headed caterpillar management by farmers in Kui buri District of Prachuap Khiri Khan Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) economic and general social information about coconut farmers in Kui Buri District, Prachuap Khiri Khan Province; 2) their knowledge concerning coconut black headed caterpillar management; 3) their methods of coconut black headed caterpillar management; and 4) their problems and suggestions for coconut black headed caterpillar management. The total of 267 informants were coconut farmers in Kui Buri District, Prachuap Khiri Khan Province, who grew coconuts during an outbreak of coconut black headed caterpillar in 2014. Data collection was done using questionnaires. The data were analyzed using descriptive statistics such as frequency distribution, mean, maximum, minimum, standard deviation, and percentage. The research results were as follows: 1) Most of the farmers were females over 60 years old and graduated from elementary school. They had three to four household members, and one to two agricultural workers. Most did not hire outside employees. The average coconut plantation area was 11.88 rai, most of which was their own. Coconuts were planted 23.87 trees per rai, and the average age of coconut was 32.74 years. Before the outbreak, the farmers harvested 815.81 fruits per rai per year and sold for an average price of 5.42 baht per fruit. After the outbreak, the farmers harvested 482.82 fruits per rai per year and sold for an average price of 17.24 baht per fruit. Farmers earned an average of 8,381 baht per year, and the average operating cost for a coconut plantation was 271.36 baht per rai per year. Most farmers received information on the management of coconut black headed worms through personal media from agricultural and agricultural extension officers. 2) Most farmers had a high level of knowledge about coconut black headed worms and methods of handling coconut worms 3) Their management method was mainly the release of wasps (Bracon hebetor), followed by injection of emamectin benzoate 1.92% EC into the coconut trees with the height above 12 meters. 4) Most farmers had problems with coconut black headed caterpillar management at a medium level. They suggested that government agencies should provide support in the form of chemicals for the prevention of coconut black headed caterpillar, and production materials for breeding the parasitic wasps to meet farmers' needs. There should be training to educate farmers about the prevention of the coconut black headed caterpillar, including cultural control, biological control, and chemical control. The Department of Agricultural Extension should consider allocating subsidies to the Community Pest Management Center (CPMU) to increase the role of effective prevention and eradication of pests in the community. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์ | th_TH |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License