Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11517
Title: | การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Coconut black headed caterpillar management by farmers in Kui buri District of Prachuap Khiri Khan Province |
Authors: | ธำรงเจต พัฒมุข เบญจมาภรณ์ ชุ่มจิตร, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มะพร้าว--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์--โรคและศัตรูพืช |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและการจัดการของเกษตรกร 3) วิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรที่ให้ข้อมูล 267 คน เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั้งหมดในพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในปี 2557 และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 3 – 4 คน และมีแรงงานทางการเกษตรจำนวน 1 – 2 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจ้างแรงงาน ขนาดพื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 11.88 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของตนเอง โดยปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 23.87 ต้นต่อไร่ มะพร้าวมีอายุเฉลี่ย 32.74 ปี ก่อนหนอนหัวดำระบาด เกษตรกรเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 815.81 ผลต่อไร่ต่อปี ขายได้ราคาเฉลี่ย 5.42 บาทต่อผล หลังหนอนหัวดำระบาด เกษตรกรเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 482.82 ผลต่อไร่ต่อปี และขายได้ราคาเฉลี่ย 17.24 บาทต่อผล เกษตรกรส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวผ่านสื่อบุคคลจากนักวิชาการเกษตรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและวิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรมีวิธีการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวมากที่สุดคือ การปล่อยแตนเบียน Bracon hebetor และรองลงมาใช้สารเคมี emamectin benzoate 1.92% EC ฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร และ 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนสารเคมีในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว รวมทั้งสนับสนุนพ่อ – แม่พันธุ์ และวัสดุในการผลิตขยายพันธุ์แตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ทั้งวิธีการเขตกรรม การใช้ชีวภัณฑ์และชีววิธี และการใช้สารเคมี และกรมส่งเสริมการเกษตรควรพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทในการเข้าไปป้องกันกำจัดศัตรูพืชในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11517 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License