Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11518
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรินธร มณีรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติพร ไชยมงคล, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-19T09:01:38Z | - |
dc.date.available | 2024-02-19T09:01:38Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11518 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตโคเนื้อของเกษตรกร 2) ตลาดโคเนื้อในจังหวัดลำพูน และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตโคเนื้อในจังหวัดลำพูน ประชากรในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 21 ตัวขึ้นไปในจังหวัดลำพูน จำนวน 403 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 210 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ผู้จัดการตลาดนัดโคกระบือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อ และพ่อค้าคนกลางรับซื้อโคเนื้อ จำนวน 13 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การผลิตโคเนื้อในจังหวัดลำพูนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบอิสระ ร้อยละ 95.24 และแบบสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 4.76 เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อประเภทพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิต ลูกโคเนื้อจำหน่าย เลี้ยงโคขุนทั่วไป เลี้ยงโคมัน และเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ร้อยละ 50.71, 31.44, 13.31 และ 4.54 ตามลำดับ การเลี้ยงโคเนื้อพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกโคเนื้อจำหน่ายใช้โคบราห์มันพันธุ์แท้ ร้อยละ 49.22 การเลี้ยงโคขุนทั่วไปและโคมันใช้โคลูกผสมบราห์มัน ร้อยละ 70.43 และ 90.32 ตามลำดับ และการเลี้ยงโคขุนคุณภาพใช้โคลูกผสมบราห์มันและลูกผสมชาร์โลเล่ส์ ร้อยละ 50.00 และ 50.00 ตามลำดับ เกษตรกรมีการจัดการอาหารโคเนื้อโดยพิจารณาจากลักษณะรูปร่าง อายุโค น้ำหนักโค และประเภทของโคที่เลี้ยง ร้อยละ 30.95, 28.57, 23.98 และ 16.50 ตามลำดับ 2) ตลาดโคเนื้อในจังหวัดลำพูน ประกอบด้วยตลาดโคเนื้อมีชีวิตและตลาดเนื้อโค โดยตลาดโคเนื้อมีชีวิต ได้แก่ การซื้อขายหน้าฟาร์ม ตลาดนัดโคกระบือ และตลาดโคเนื้อขุน ขณะที่ตลาดเนื้อโค ได้แก่ ตลาดสดในพื้นที่ และ 3) ปัญหาในการผลิตโคเนื้อ พบว่า เกษตรกรมีปัญหาด้านพันธุ์โค ด้านอาหาร และด้านการจัดการฟาร์มในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาด้านการจัดการสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม และการจัดจำหน่ายโคเนื้ออยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะในการผลิตโคเนื้อ คือ เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตโคเนื้อเพื่อพัฒนาการผลิตโคเนื้อ ขุนคุณภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำและช่วยเหลือด้านการจัดการโคเนื้อขุนคุณภาพในระดับฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน และแหล่งจำหน่ายเนื้อโค | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | โคเนื้อ--ไทย--ลำพูน--การผลิต | th_TH |
dc.subject | โคเนื้อ--ไทย--ลำพูน--การตลาด | th_TH |
dc.title | การผลิตและตลาดโคเนื้อในจังหวัดลำพูน | th_TH |
dc.title.alternative | Beef cattle production and market in Lamphun Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were to study 1) beef cattle production of farmers; 2) beef cattle markets in Lamphun province; and 3) problems and recommendations on beef cattle production in Lamphun province. The research population consisted of two groups: Group 1 for quantitative research were 403 beef cattle farmers in Lamphun province who had more than 21 head of beef cattle each. The sample size of 210 farmers was determined using Taro Yamane's formula with an error value of 0.05 by random sampling. The data were collected by using a questionnaire. Group 2 for qualitative research were 13 key informants who represented beef cattle farmers, provincial livestock officers, district livestock officers, beef cattle and buffalo market managers, beef cattle community enterprise groups and local merchants, chosen by purposive sampling. The data were collected by in-depth interview. The data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The results showed that 1) Lamphun province had two types of beef cattle production which were 95.24% independent beef cattle farmers and 4.76% beef cattle community enterprise members. Beef cattle farmers surveyed raised 50.71% purebred beef cattle, 31.44% fattening beef cattle, 13.31% culled beef cattle and 4.54% fattening quality beef cattle. In addition, 49.22% of beef cattle farmers who raised purebred beef cattle used purebred Brahman beef cattle, while 70.43% who raised fattening beef cattle and 90.32% who raised culled beef cattle used crossbred Brahman. Those who raised fattening quality beef cattle used crossbred Brahman and crossbred Charolais at a rate of 50.00 and 50.00%, respectively. Feeding management for beef cattle was based on considering body condition, age, weight and type of beef cattle at 30.95, 28.57, 23.98 and 16.50 %, respectively. 2) Beef cattle markets in Lamphun province included beef cattle markets and beef markets. Beef cattle were sold at the farms, at beef cattle and buffalo markets and beef cattle fattening market, while butchered beef was sold through local fresh markets in Lamphun province. 3) As for problems in beef cattle production, it was found that farmers had problems at a moderate level in terms of beef cattle breeds, feed and farm management. Moreover, problems about sanitation and environmental management were found at a low level. The recommendations for beef cattle production were that beef cattle farmers should establishment collaborative groups to develop beef cattle fattening quality production, and relevant agencies should advise and help farmers in farm management, implementing standard slaughterhouse and sources for selling beef cattle. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | มณฑิชา พุทซาคำ | th_TH |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License