กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11519
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The analysis of technical efficiency and technology change of saving cooperatives performance in Tak Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ เบญจวรรณ สุทธดุก, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุจิตรา รอดสมบุญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ สหกรณ์ออมทรัพย์--ไทย--ตาก--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตากจำนวน 8 สหกรณ์ โดยมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ (1) สหกรณ์ที่ทำการศึกษาจะต้องมีผลการดำเนินงานไม่ติดลบหรือมีค่าเป็นศูนย์ และ (2) ข้อมูลผลการดำเนินงานของสหกรณ์จะต้องมีความต่อเนื่องกันตามมิติของเวลาจากปีบัญชี 2553 ถึง 2563 เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ข้อมูลทุติยภูมิศึกษาผลการดำเนินงานสหกรณ์จากฐานข้อมูลกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ด้วยตารางบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลปฐมภูมิโดยสนทนากลุ่ม กรรมการ ฝ่ายจัดการและสมาชิกสหกรณ์จำนวน 24 คน โดยใช้แบบสนทนากลุ่มที่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์อัตราการเติบโตแบบเส้นตรง และแบบจำลองโอบล้อมข้อมูลแบบนอนพาราเมตริก ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบหลายขั้นตอนโดยมีปัจจัยนำเข้า คือ ทุนเรือนหุ้น ทุนสำรอง หนี้สินทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของสหกรณ์ และปัจจัยผลผลิต คือ รายได้ทั้งสิ้นของสหกรณ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตากมีค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และกำไรที่ระดับ 8,098,181,414.944, 4,576,909,522.972, 3,915,169,986.074, 537,441,354.265, 219,446,324.205 และ 281,981,142.747 บาทต่อปีตามลำดับ อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นมีแนวโน้มลดลง ทุนของสหกรณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและกำไรมีแนวโน้มคงที่ 2) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ 7 แห่ง มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค และสหกรณ์อีก 1 แห่งไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสะท้อนให้เห็นว่าการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานของสหกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพ 3) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้ง 8 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีตลอดช่วงระยะเวลา 11 ปี ที่ทำการศึกษา และ 4) แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ ได้แก่ (1) การจัดการทรัพยากรที่เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วย บุคคล เงินทุน การจัดการ และการให้บริการของสหกรณ์แก่สมาชิก และ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทางการเงินที่เหมาะสมในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11519 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License