Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11525
Title: แนวทางการจัดการธุรกิจสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดพิจิตร
Other Titles: Business management guidelines for exporting Nam Dok Mai Mangoes of farmers in Phichit Province
Authors: นาลัน แป้นปลื้ม
เผ่าพงษ์ กิ่งกาหลง, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ภวัต เจียมจิณณวัตร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมมะม่วง--ไทย--พิจิตร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล เศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก 2) ศึกษาการจัดการทรัพยากรในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกของเกษตรกร 3) จำแนกกลุ่มเกษตรกรตามระดับการจัดการทรัพยากร และ 4) เสนอแนะแนวทางการจัดการธุรกิจสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในจังหวัดพิจิตร จำนวน 1,349 ราย สุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 400 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามอำเภอและการสุ่มอย่างง่าย โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 5 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.54 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 10.89 ปี มีรายได้หลักมาจากการทำสวนมะม่วงเฉลี่ย 61,618 บาท/ไร่/ปี เป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) การจัดการทรัพยากรในการผลิตของเกษตรกรสอดคล้องกับระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) จำแนกกลุ่มเกษตรกรตามระดับการจัดการทรัพยากรออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีการจัดการอยู่ในระดับที่ดีหรือกลุ่มผู้นำจำนวน 81 ราย กลุ่มที่มีการจัดการอยู่ในระดับปานกลางหรือกลุ่มปานกลางจำนวน 311 ราย และกลุ่มที่มีการจัดการอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงหรือกลุ่มปรับปรุงจำนวน 8 ราย 4) แนวทางการจัดการธุรกิจสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก ได้แก่ (1) ด้านการผลิต ควรรวมกลุ่มรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรในกลุ่มปานกลางและกลุ่มปรับปรุงควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรกลุ่มผู้นำ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการสวนมะม่วงให้ได้ปริมาณผลผลิตที่ได้คุณภาพเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น (2) ด้านการจัดการ ควรมีการจัดการธุรกิจสวนมะม่วงตลอดทั้งระบบโซ่อุปทาน (3) การส่งออก ควรมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตมะม่วง การยืดอายุของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการตลาดทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11525
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons