Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11526
Title: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: The guidelines for developing gardeners' community enterprise development of Tha Ngam Rubber at Tha Ngio Sub-district, Muang Nakhon Si Thammarat, Nakhon Si Thammarat
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมวิทย์ ปรีชา, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม 2) สภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม และ 4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การสอบถามศึกษาจากสมาชิกทั้งหมดของวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม จำนวน 32 ราย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมมนาแบบมีส่วนร่วม เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจำนวน 4 ราย จากผู้นำชุมชน กรรมการและสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองนครศรีธรรมราช ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน พบว่า เป็นเพศชายและหญิงจำนวนเท่ากัน อายุเฉลี่ย 57.9 ปี ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกภายในครัวเรือนเฉลี่ย 3.84 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ใช้แรงงานกรีดยางในครัวเรือน รายได้ครัวเรือนจากผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อเดือน 8,234.38 บาท ความถี่ในการกรีดยางเฉลี่ยอยู่ที่ 15 วันต่อเดือน 2) สภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน สมาชิกมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในด้านผู้นำและการบริหารวิสาหกิจชุมชน ด้านโครงสร้างและกฎระเบียบ ด้านการเงินและบัญชี ด้านสวัสดิการสมาชิกและชุมชน ด้านการบริหารตลาด ด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ ส่วนด้านการวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล และด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของวิสาหกิจชุมชนชาวสวนยางบ้านท่างาม พบว่า (1) ด้านสมาชิก ปัญหาที่พบได้แก่ สมาชิกมีน้อย อายุมาก บางคนยังขาดความเชื่อมั่นในกลุ่ม ไม่ตรงต่อเวลา ไม่ค่อยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ขาดทักษะความรู้ในขั้นตอนการแปรรูปผลผลิต ประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มและความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพาราที่มีคุณภาพ ข้อเสนอแนะด้านสมาชิก มีความต้องการให้กรรมการหาประสบการณ์ความรู้และการบริหารให้มากขึ้น สมาชิกในกลุ่มควรตรงต่อเวลาหรือมีการตั้งกฎกติกาแก่สมาชิกที่ไม่ตรงต่อเวลา การประชุมควรแจ้งต่อสมาชิกทุกครั้ง และควรจัดให้มีสวัสดิการให้กับสมาชิก (2) ด้านการผลิต ปัญหาที่พบ คือ กลุ่มมีกำลังการผลิตมาก แต่ขาดแรงงานในการจัดการ ขาดพื้นที่ในการจัดเก็บ และสมาชิกบางส่วนไม่สามารถส่งผลผลิตเข้าในกลุ่มได้ทั้งหมดของผลผลิตตนเองเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลาดชัน และไม่สามารถขนส่งได้ทันเวลา ข้อเสนอแนะด้านการผลิต คือ ต้องการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องดูแลสวนยางพาราและดูแลผลผลิตยางพาราให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่สมาชิก (3) ด้านการแปรรูป ปัญหาที่พบ คือ ผลผลิตน้ำยางข้นสดไม่เพียงพอต่อการแปรรูป เครื่องมืออุปกรณ์รุ่นเก่าและต้องซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง โครงสร้างของโรงแปรรูปใช้งานมานานทำให้มีหลายส่วนที่ต้องซ่อมแซม และพื้นที่เก็บรักษายางรมควันไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะด้านการแปรรูป คือ ศึกษาดูงานในด้านระบบกลุ่มและระบบการทำยางแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ (4) ด้านการตลาด ปัญหาที่พบ คือ ช่วงฤดูฝนจะมีผลผลิตน้ำยางสดไม่เพียงพอต่อการแปรรูปเป็นยางรมควันและรถขนส่งวัตถุดิบที่แปรรูปเสร็จไปยังจุดจำหน่ายไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะด้านการตลาด คือ ควรมีการเปิดจุดรับซื้อน้ำยางสดและรับซื้อผลผลิตในรูปแบบอื่นเพื่อเป็นการขยายตลาดและเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกร 4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน พบว่า (1) ด้านการพัฒนาสมาชิกกลุ่ม รับสมัครสมาชิกเพิ่ม จัดตั้งกลุ่มผลิตด้านการเกษตรอื่นเพิ่ม และประชาสัมพันธ์ข่าวสารของกลุ่ม (2) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ควรจัดฝึกอบรมหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ ควรพัฒนาทักษะการผลิตยางรมควันแปรรูปน้ำยางและลดการแข็งตัวของน้ำยางข้น (3) ด้านการพัฒนาการผลิต ควรจัดวางแผนระบบการผลิตและควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่ม แปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ (4) ด้านการจัดการโรงงาน ควรจัดหาแรงงาน และซ่อมแซมปรับปรุงโรงเรือนอุปกรณ์การผลิตให้พร้อมดำเนินการ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11526
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons