Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11532
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | วรปรัชญ์ วงศ์ตระกูล, 2538- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-20T03:22:55Z | - |
dc.date.available | 2024-02-20T03:22:55Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11532 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในชั้นพนักงานอัยการ (2) เพื่อศึกษากฎหมายและหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการในประเทศไทยและในต่างประเทศ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมของการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการให้นำมาใช้กับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสารจากตำรา กฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ เอกสารทางวิชาการ และข้อมูลจากเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยนำมาจัดรวบรวมและทำการวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากเอกสารเหล่านั้น ผลการศึกษาพบว่า (1) การสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของพนักงานอัยการในประเทศไทยมีขั้นตอนในการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องโดยการเสนอความเห็นตามลำดับชั้นถึงอัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ส่งผลให้คดีอาญาเสร็จเด็ดขาด ซึ่งในทางปฏิบัติถือว่าคดีอาญาสิ้นสุดแล้ว โดยกระบวนการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเกิดขึ้นภายในองค์กรทั้งหมด ไม่มีการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกหรือภาคประชาชน ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบตามแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมโดยประชาชน (2) โดยใช้ระบบการตรวจสอบของประเทศญี่ปุ่นที่ให้สุ่มเลือกประชาชนทั่วไปจำนวน 11 คน เป็นคณะกรรมการตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ ณ ศาลชั้นต้นทุกศาล โดยมติของคณะกรรมการอาจมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการได้ (3) แต่จากการศึกษาวิเคราะห์บริบทของสังคมไทยพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมเทียบเท่ากับประเทศญี่ปุ่น (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยนำระบบคณะกรรมการตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีของญี่ปุ่นมาปรับใช้ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้จะมาเป็นคณะกรรมการ และลดจำนวนสมาชิกลงเหลือคณะกรรมการชุดเดียวจำนวน 5 คน ซึ่งมติของคณะกรรมการมีผลเป็นเพียงคำแนะนำแก่อัยการสูงสุด เพื่อให้ทบทวนคำสั่งเท่านั้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรมทางอาญา | th_TH |
dc.subject | การฟ้องคดีอาญา | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม | th_TH |
dc.title | การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในชั้นพนักงานอัยการ | th_TH |
dc.title.alternative | Inspection of discretion in order not to prosecute the non-public interest criminal cases at the prosecutor's level | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168993.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License