Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11538
Title: การพยากรณ์อุปสงค์การนำเข้าปุ๋ยเคมีของประเทศไทย
Other Titles: Forecasting import demand for chemical fertilizer of Thailand
Authors: เฉลิมพล จตุพร
จิดาภา พิศูทธินุศาสตร์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วสุ สุวรรณวิหค
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์--ไทย--การนำเข้า
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศไทย และ (2) พยากรณ์ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีของประเทศไทย จำนวน 3 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ แม่ปุ๋ยไนโตรเจน แม่ปุ๋ยโพแทสเซียม และปุ๋ยผสมจากธาตุหลัก 3 ชนิด (ไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส) การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ มีลักษณะเป็นอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 รวมข้อมูล 168 เดือน และใช้เทคนิคพยากรณ์ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกิน หรือตัวแบบ SARIMA (p,d,q)(P,D,Q)s โดยกระบวนการพยากรณ์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบความนิ่งของข้อมูล การกำหนดตัวแบบพยากรณ์เบื้องต้น การประมาณค่าพารามิเตอร์ การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์ และการพยากรณ์ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยไนโตรเจน แม่ปุ๋ยโพแทสเซียม และปุ๋ยผสม ในปี พ.ศ. 2564 การนำเข้าปุ๋ยเคมีทั้ง 3 ชนิด มีปริมาณเท่ากับ 2.2 พันล้านตัน 9.6 แสนตัน และ 8.2 แสนตัน ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 2.9 หมื่นล้านบาท หนึ่งหมื่นล้านบาท และ 1.2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ โดยประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีจาก จีน ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย รัสเซียและการตาร์มากที่สุด สำหรับแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัสพบว่าไทยสามารถผลิตใช้เองได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ และ (2) ตัวแบบที่เหมาะสมต่อการพยากรณ์การนำเข้าแม่ปุ๋ยไนโตรเจน แม่ปุ๋ยโพแทสเซียม และปุ๋ยผสม ได้แก่ SARIMA (0,0,0)(0,1,1)12 SARIMA (2,0,1)(0,1,1)12 และ SARIMA (1,0,0)(2,1,0)12 ตามลำดับ โดยพิจารณาจากตัวแบบพยากรณ์ที่ให้ค่าสถิติ AC และ SC ต่ำสุด สำหรับการพยากรณ์การนำเข้าแม่ปุ๋ยไนโตรเจน แม่ปุ๋ยโพแทสเซียม และปุ๋ยผสมของประเทศไทยออกไปข้างหน้า 12 เดือน (เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2565) โดยเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2564 พบว่า การนำเข้าแม่ปุ๋ยไนโตรเจนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.12 การนำเข้าแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 8.74 และการนำเข้าปุ๋ยผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.74
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11538
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons