กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11545
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health behaviors and healthcare expenditures of personnel suffered from mon-communicable diseases in Siriroj Hospital, Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วศินา จันทรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัทมา ชูถนอม, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมสุขภาพ
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง--ค่าใช้จ่าย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต (2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย (3) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (4) ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ (5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลางที่ทำงานในโรงพยาบาลสิริโรจน์ จังหวัดภูเก็ต มีอายุระหว่าง 40–60 ปี จำนวน 125 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน จำแนกตามกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี มีรายได้ 20,001–30,000 บาทต่อเดือน มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี ตำแหน่งงานผู้ช่วยพยาบาลและเจ้าหน้าที่ มีดัชนีมวลกายระหว่าง 25.0-29.9 กก./ม2 ซึ่งจัดอยู่ในระดับอ้วนและมีน้ำหนักเกิน (2) พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง (3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง (4) ค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสัมพันธ์ผกผันกับค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และดัชนีมวลกาย โดยมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons