Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11552
Title: การสื่อสารเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Communication about people’ rights and obligation in Rai Mai Subdistrict Municipality, Sam Roi Yot District, Prachuab Khiri Khan Province
Authors: กรกช ขันธบุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิต กฤตานุสาร, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารในการบริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การจัดการการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารของเทศบาลตำบลไร่ใหม่มาไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร คือ ผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของข้อมูลเรื่องสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ประกอบด้วยบุคลากรเทศบาลตำบลไร่ใหม่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายอาสาสมัคร (2) สาร คือ การขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การขึ้นทะเบียนในการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การขึ้นทะเบียนในการรับเงินเบี้ยความพิการ การรับเงินค่าจัดงานศพตามประเพณี การขอรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การได้รับความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ การคุ้มครองผู้บริโภค, การปรับสภาพแวดล้อมบ้านผู้ด้อยโอกาส การได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาเด็กสำหรับครัวเรือนยากจน การขอข้อมูลข่าวสารทางราชการและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ การร้องเรียนร้องทุกข์ (3) ช่องทางการสื่อสาร คือ สื่อบุคคล ป้ายประกาศ แผ่นพับ รถแห่ หนังสือราชการ ไลน์กลุ่ม และเฟซบุ๊กของเทศบาล (4) ผู้รับสาร คือ กลุ่มเฉพาะที่ประชาชนอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และ (5) ผลการสื่อสารที่คาดหวัง คือ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตนและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 2) การจัดการการสื่อสารสิทธิและหน้าที่ ประกอบด้วย (1) การจัดการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทีมผู้ส่งสารที่เป็นบุคลากรเทศบาลตำบลไร่ใหม่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายอาสาสมัครในชุมชน (2) การจัดการการผลิตและการเผยแพร่เนื้อหาผ่านสื่อดั้งเดิมละสื่อใหม่ไปยังกลุ่มเป้าหมายในแต่ละเรื่อง 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารสิทธิและหน้าที่ ประกอบด้วย (1) การเพิ่มพูนทักษะการสื่อสารโดยจัดการอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ส่งสาร การพัฒนาเนื้อหาสารให้มีความน่าสนใจ ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน การพัฒนาช่องทางการสื่อสารและสื่อด้วยการพัฒนาแบบหลายช่องทางไปพร้อม ๆ กัน การยกระดับความคิดและเพิ่มทักษะการรับสาร และการพัฒนาผลการสื่อสารโดยการนำปัญหาที่ประสบไปปรับปรุงแก้ไข (2) การวางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมุ่งเน้น การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้สื่อที่หลากหลายให้เต็มประสิทธิภาพ การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดประเมินผลการสื่อสารด้านความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11552
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons