Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11554
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorหัสพร ทองแดง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพระครูปลัดธีรวัฒน์ (องอาจ นาคูณ), 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-20T07:22:17Z-
dc.date.available2024-02-20T07:22:17Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11554-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการจัดการเครือข่ายการสื่อสาร 2) การธำรงรักษาเครือข่ายการสื่อสาร 3) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเครือข่าย การสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจฯ รวมทั้งสิ้น 27 คน โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน ได้แก่ 1) พระที่เป็นฝ่ายบริหารของวัด จำนวน 2 รูป 2) พระที่อยู่ในเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจ จำนวน 5 รูป และทำการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน ได้แก่ 1) พุทธศาสนิกชนในเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจผู้ซึ่งทำวัตรสวดมนต์แปลเป็นประจำ จำนวน 10 คน 2) สมาชิกเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจผู้ซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ “วัดระฆังโฆสิตาราม ครอบครัวบุญธรรมะสู่ดวงใจ” จำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเครือข่ายการสื่อสารของโครงการธรรมะสู่ดวงใจของ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเป็นเครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม ได้แก่ การสวดมนต์ การบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน เป็นปัจจัยหลักในการรวมกลุ่มองค์การ ซึ่งสมาชิกของเครือข่ายในโครงการธรรมะสู่ดวงใจเป็นลักษณะรูปแบบเครือข่ายใกล้ชิด 2) การธำรงรักษาเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจดำเนินการผ่านกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยทุกกิจกรรมที่ดำเนินการมุ่งเน้นการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกเครือข่าย มีกลไกสร้างระบบจูงใจอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรม การสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน มีการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมบริจาค และมีการให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับสมาชิกในเครือข่าย รวมทั้งมี การสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง 3) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร การสื่อสารของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารโดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาการสื่อสารซึ่งมีกองงานเผยแผ่ธรรมะสู่ดวงใจทำหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเป็นแกนกลางที่ทำให้เครือข่ายสามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยใช้การสื่อสารแบบหลายช่องทางผ่าน “สื่อใหม่” เพื่อทำให้เกิดการเสวนา และการแลกเปลี่ยนความรู้ได้ตลอดเวลาผ่านสื่อใหม่ ได้แก่ กลุ่มไลน์วัดระฆังโฆสิตารามครอบครัวบุญ “ธรรมะสู่ดวงใจ” เฟซบุ๊กธรรมะสู่ดวงใจ เฟซบุ๊กกองงานเผยแผ่ธรรมะสู่ดวงใจ เฟซบุ๊กวัดระฆังโกสิตาราม เว็บไซต์ http://www.watrakang.com เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสต่างๆ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ได้แก่ การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้สมาชิกมาร่วมงานได้ในจำนวนที่จำกัด การจัดกิจกรรมที่มีระยะเวลาที่สถานการณ์บ้านเมืองกำหนดบางกิจกรรมต้องงด และสมาชิกในเครือข่ายมีความคิดเห็นการจัดกิจกรรมในการสื่อสารที่ไม่ตรงกันแต่สมาชิกมีการปรับตัวเข้าหากันได้ นอกจากนี้การจัดกิจกรรมในการสื่อสารให้พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมเครือข่ายธรรมะสู่ดวงใจในยุคเศรษฐกิจตกตํ่า ส่งผลต่อการจัดหาทรัพยากรสนับสนุนในการทำกิจกรรมลดลงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารth_TH
dc.subjectการสื่อสาร--แง่ศาสนาth_TH
dc.titleการจัดการเครือข่ายการสื่อสารธรรมะสู่ดวงใจของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารth_TH
dc.title.alternativeCommunication network management of Dhamma to Heart by Wat Rakhang Khositaram Woramahawihanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) patterns of managing Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan’s Dhamma to Heart communication network; 2) maintenance of the communication network; 3) approaches for developing the communication network; and 4) problems that people at Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan experienced with management of the Dhamma to Heart communication network. This was a qualitative research based on in-depth interviews and a focus group discussion. The research tool was an in-depth interview form. The 27 key informants were purposively selected from among people involved with the process of creating the Dhamma to Heart communication network. Seven of them were interviewed, comprising 1) two monks with administrative positions and 2) 5 monks in the Dhamma to Heart communication network; while 20 informants participated in the focus group discussion, comprising 1) 10 Buddhist lay people in the Dhamma to Heart communication network who regularly undertook observance of the precepts and 2) 10 members of the Dhamma to Heart communication network who were members of the “Merit-making family of Dhamma to Heart by Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan” group on the Line application. The data were analyzed deductively. The results showed that 1) Communication network management - Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan’s Dhamma to Heart project is an issue-based and activity-based network with the main activities being praying and novice ordination during the summer vacation at the end of the school year. These are the major factors for organizational cohesion. The Dhamma to Heart network can be characterized as a close-knit network. 2) Network maintenance – The network operates continuously with activities throughout the year. Every activity emphasizes maintaining and strengthening good relationships among the network members. There are mechanisms that are systematically used to continuously create incentives for members to participate in activities. An atmosphere of warmth is fostered so that members feel they are all one big family. Pious donors offer support by hosting activities and making donations. Members can access help from within the network for solving any problems they may have. The network’s activities help continuously build up a new generation of leaders. 3) Approaches for development - Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan aims to develop its communication through the Dhamma to Heart dissemination work division that is the central core in charge of keeping network members connected. Many communication channels are utilized, especially “new media” that are conducive to promoting ongoing discussion and knowledge exchange. The new media that are used include the “Merit-making family of Dhamma to Heart by Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan” group on the Line application, the Dhamma to Heart Facebook group, the Dhamma to Heart dissemination work division’s Facebook group, the Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan Facebook page, and the http://www.watrakang.com website. These are all used to spread public relations messages and encourage people to join in the activities. 4) Problems encountered include the COVID-19 pandemic, which meant that only limited numbers of members could join in activities, and some of the activities had to be curtailed or cancelled altogether due to the public health mandates at the time. Another difficulty was that some members had misunderstandings in the communications about activities, but they were mostly able to straighten them out and resolve those difficulties. Lastly, because of economic downturns, the amount of resources that network members were able to donate to support the activities were often less than they desireden_US
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons