Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11560
Title: การจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Integrated pest management of fall armyworm (Spodoptera frugiperda J.E.Smith) of famers in the North of Thailand
Authors: ธำรงเจต พัฒมุข,
ปวีณา เดชคอบุตร, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีสะสาร
Keywords: ข้าวโพด--โรคและศัตรูพืช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้และการจัดการหนอนกระทู้ขาวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสาน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสาน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการหนอนกระทู้ขาวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสาน และ 5) แนวทางการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสานที่เหมาะสมต่อเกษตรกร ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 จังหวัดในเขตภาคเหนือที่ได้รับการอบรมแนวทางป้องกันและจัดการศัตรูพืชไร่แบบผสมผสานของกรมส่งเสริมการเกษตร ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุ การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และการวิเคราะห์กลยุทธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 60.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 55.0 มีประสบการณ์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 18.57 ปี มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 16.17 ไร่ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,458.76 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,221.03 บาท/ไร่ โดยเกษตรกร ร้อยละ 19.5 เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่และกลุ่มสหกรณ์การเกษตรเกษตรกร ร้อยละ 98.0 ได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ ร้อยละ 95.5 รับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกร ร้อยละ 57.0 มีความรู้ในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 67.5 มีการจัดการหนอนกระทู้ขาวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสาน ในระดับปานกลางโดยวิธีการที่เลือกใช้ คือ (1) สารเคมีทางใบ (2) ไถตากดิน และ (3) สำรวจแปลง ซึ่งเกษตรกร ร้อยละ 65.0 ให้ความสำคัญต่อวิธีการจัดการในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการหนอนกระทู้ขาวโพดลายจุด โดยวิธีผสมผสาน ได้แก่ (1) อายุ (2) ระดับการศึกษา (3) การเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ทางการเกษตร และ(4) ระดับความสำคัญของวิธีการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดโดยวิธีผสมผสาน โดยสามารถอธิบายการยอมรับได้ ร้อยละ 10.1 (R2 = 0.101) 4) ปัญหาที่สำคัญ คือ สารเคมีราคาสูงทำให้ไม่สามารถสลับกลุ่มสารเคมีในการฉีดพ่นได้ และขาดวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตศัตรูธรรมชาติ โดยมีข้อเสนอแนะให้ฝึกอบรมด้านใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีและปลอดภัย และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และพ่อแม่พันธุ์ศัตรูธรรมชาติ และ 5) แนวทาง การจัดการหนอนกระทู้ขาวโพดลายจุด คือ (1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มซื้อสารเคมี (2) เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรกับศัตรูจัดการศัตรูพืชชุมชน เพื่อให้ความรู้และรับบริการชีวภัณฑ์และศัตรูธรรมชาติต่อเนื่อง (3) หน่วยงานของรัฐสนับสนุนศัตรูธรรมชาติและชีวภัณฑ์ให้เกษตรกร โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11560
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169226.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons