Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11581
Title: | การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติสำหรับอุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทย |
Other Titles: | Econometric analysis of the demand for propylene in Thailand |
Authors: | สุชาดา ตั้งทางธรรม วรพล เกียรติก้องขจร, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อรรฆย์คณา แย้มนวล มนูญ โต๊ะยามา ปราโมทย์ ศุภปัญญา |
Keywords: | แบบจำลองทางเศรษฐมิติ--ไทย โพรพิลีน |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทยกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและราคาของโพรพิลีนในประเทศ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทยและมูลค่าการนำเข้า การส่งออกของแต่ละอุปสงค์สืบเนื่อง และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทย โดยอุปสงค์สืบเนื่องของโพรพิลีนที่ศึกษามี 7 ชนิดคือ โพลีโพรพิลีน (polypropylene). ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (isopropyl Alcohol) บิวทีราลด์ไฮด์ (buteraldehyde) อะครีลิคแอสิดและอะครีเลต (acrylic acid & acrylates) คิวมีน (cumene) อะครีโลไนไตรล์ (acrylonitrile) และโพรพิลีนออกไซด์ (propylene oxide) ผลการศึกษาพบว่าอุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับราคาโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.897 และ -0.793 ตามลำดับ อุปสงค์ของโพรพิลีนในประเทศไทยยังขึ้นอยู่กับมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกของสินค้าที่ผลิตจาก Polypropylene (PP) Isopropyl Alcohol (ISA) Buteraldehyde (BU) AcrylicAcid & Acrylates (AA) Cumene (CU) Acrylonitrile (CAN) โดยที่อุปสงค์ของโพรพิลีนจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ผลิตจาก ACN, CU, PP และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับมูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ผลิตจาก ACN ลดลง ทั้งนี้โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.575, 0.020, 0.514 และ -0.529 ตามลำดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11581 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License