กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11582
ชื่อเรื่อง: | การประเมินมูลค่าเชิงนันทนาการของอุทยานแห่งชาติลานสาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Recreational value of Lansang National Park |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์ เอกสิทธิ์ ธรรมลิขิต, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม ศุภจิต มโนพิโมกษ์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว--การประเมิน อุทยานแห่งชาติลานสาง--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2544 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | อุทยานแห่งชาติลานสางเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและประโยชน์ทางนันทนาการ แต่ ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงพยายามประเมินมูลค่าเชิงนันทนาการของอุทยานฯ และผลที่ได้คาดว่าจะเป็นข้อมูลประกอบการจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินมู่ลค่าใช้สอยโดยจะประเมินมูลค่าทางนันทนาการโดยใช้วิธีต้นทุนการเดินทาง (Travel Cost Method, TCM) (2) ประเมินค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า (Contingent Valuation Method, CVM) (3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าชมอุทยานแห่งชาติที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนั่นทนาการในปัจจุบันของอุทยานแห่งชาติลานสางวิธี TCM คือ 23.08 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยประมาณ 355.07 บาทต่อไร่ต่อปี ตัวแปรที่มีผลต่อจำนวนครั้งของการเดินทางไปเที่ยวที่อุทยานฯ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ ต้นทุนการเดินทางและพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ส่วนวิธี CVM ได้มูลค่าประมาณ 23.93 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยประมาณ 368.15 บาทต่อไร่ต่อปี ตัวแปรที่มีผลต่อความเต็มใจ่ที่จะจ่ายเพื่อใช้ประโยชน์ในปัจจุบันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ การเป็นสมาชิกขององค์กรหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ค่าความเต็มใจที่จะจ่าย คือประมาณ 194 บาทต่อครั้ง จากตัวเลขนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยแนะนำการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม 40 บาทต่อคนต่อครั้ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11582 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License