กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11588
ชื่อเรื่อง: อุปทานของผลผลิตพืชอาหารและอุปสงค์ปัจจัยการผลิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supply of food crops and demand for factors of production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ เพียบพร้อม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาสิตา ลีเกษม, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: พืชอาหาร
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับอุปทานของผลผลิตพืชอาหารและอุปสงค์ของปัจจัยการผลิตเป็นการศึกษาวิเคราะห์พืชเกษตรชนิดเดียวโดยใช้แบบจำลองพืชผลชนิดเดียวที่มีข้อสมมติให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการผลิตที่เกษตรกรตัดสินใจเลือกผลิตพืชหลายชนิด ทำให้ข้อสรุปที่ได้อาจจะไม่สามารถสะท้อนภาวะการตัดสินใจและพฤติกรรมการผลิตของเกษตรกรได้แม่นยำนักทำให้นัยนโยบายการเกษตรลดความน่าเชื่อถือลง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างและวิเคราะห์แบบจำลองของอุปทานของพืชอาหารและอุปสงค์ของปัจจัยการผลิตของพืชหลายชนิดและเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยกำหนดการผลิตพืชอาหารและการใช้ปัจจัยการผลิต การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดการหากำไรสูงสุดของผู้ผลิต ทฤษฎีคู่ และแบบจำลองสมการกำไรทางคณิตศาสตร์แบบทั่วไปของลีอองเทียฟโดยใช้วิธีประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของแบบจำลองสมการการถดถอยที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน และใช้วิธีการประมาณค่าด้วยระบบสมการ ขอบข่ายการศึกษาจำกัดเฉพาะถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง และปัจจัยการผลิตคือแรงงานคน แรงงานสัตว์ แรงงานเครื่องจักร ปุ๋ยและสารเคมี ช่วงเวลาของข้อมูลที่ใช้ศึกษาอยู่ระหว่างปี 2530/31 -2544/45 ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองระบบสมการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในขณะที่อุปทานพบว่าถั่วเหลืองกับถั่วลิสงเป็นพืชแข่งขันกันแต่อิทธิพลของราคาถั่วเหลืองสูงกว่าถั่วลิสง ส่วนด้านอุปสงค์ปัจจัยการผลิตพบว่าแรงงานคนเป็นปัจจัยใช้ร่วมกับแรงงานสัตว์แต่แข่งขันกับการใช้เครื่องจักร ส่วนปุ๋ยและสารเคมีเป็นปัจจัยแข่งขันกันบางส่วน นอกจากนี้ตัวแปรพื้นที่ เทคโนโลยีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95% การศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ความกระจ่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากขีดจำกัดของข้อมูลจึงทำให้ต้องปรับลดขอบเขตของการศึกษา อนึ่งการวิเคราะห์จะมีความสมบูรณ์มากขึ้นหากมีการจัดทำฐานข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากกว่านี้ ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลพืชอาหารควรมีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อทำให้ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายให้ดียิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77539.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons