Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรัตนาวรรณ ดวงแก้ว, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-23T06:17:42Z-
dc.date.available2024-02-23T06:17:42Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11589-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างรายได้ของประเทศไทยในช่วงปี 2493 – 2544 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้จากภาษีอากรกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้จากภาษีสรรพากรกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในแต่ละสาขา ภาษีสรรพากรแต่ละประเภทกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในแต่ละสาขาการผลิตว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณา และวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSSผลการวิจัยพบว่าเมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในแต่ละสาขาการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลทำให้การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ สาขาการค้าส่งและการค้าปลีกจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีการค้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม , สาขาอุตสาหกรรมจะมีผลต่อภาษีอากร และภาษีการค้า, สาขาการก่อสร้างจะมีผลต่อภาษีสรรพากร และภาษีการค้า, สาขาการเงินการธนาคารจะมีผลต่อภาษีอากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ, สาขาการเกษตรจะมีผลต่อภาษีธุรกิจเฉพาะ , สาขาการบริการจะมีผลต่อภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล, สาขาเหมืองแร่และย่อยหินจะมีผลต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับสาขาที่อยู่อาศัยจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในทิศทางเดียวกันแต่กลับทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง แต่โดยรวมแล้วแสดงว่าสาขการผลิตสำคัญ ๆ เช่น สาขาที่อยู่อาศัยสาขาการบริการ สาขาการค้าส่งและการค้าปลีก สาขาการเกษตร มีความสำคัญต่อภาษีสรรพากร ดังเห็นได้จากค่าความยืดหยุ่นรายได้ภาษีต่อสาขาการผลิตมีค่ามากกว่า 1 เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อสาขาที่อยู่อาศัย ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อสาขาการบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสาขาการค้าส่งและการค้าปลีก และภาษีธุรกิจเฉพาะต่อสาขาการเกษตร ซึ่งมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1.073, 2.006, 2.131 และ 1.420 ตามลำดับในการศึกษาถึงภาษีอากรกับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่ารายได้จากภาษีอากรและภาษีสรรพากรมีแนวโน้มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สำหรับบทบาทของภาษีสรรพากรต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าภาษีสรรพากรมีบทบาทในการหารายได้ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากเดิมจนสามารถทำรายได้ให้รัฐบาลเป็นอันดับหนึ่ง และยังมีส่วนในการพัฒนาประเทศ เช่น การนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การลดหรือยกเว้นภาษี การออกมาตรการช่วยเหลือทางด้านภาษีให้แก่กิจการบางประเภทที่รัฐต้องการส่งเสริมการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มสูงขึ้นนั้นยังขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น อีกหลายตัวแปร เช่น ความพยายามในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น และประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectภาษีอากรth_TH
dc.subjectภาษีเงินได้th_TH
dc.titleบทบาทของภาษีสรรพากรกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeRole of revenue tax and economic growth in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
78283.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons