Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11601
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อบริโภค : กรณีศึกษาภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Feasibility study of producing water for consumption : a case study in Ratchaburi military camps
Authors: สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัฐวิชญ์ จิวสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สนิทพงษ์ ไชยขันแก้ว, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: น้ำดื่ม--การผลิต
น้ำเพื่อการบริโภค
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เพื่อใช้ในการบริโภค สำหรับหน่วยทหารซึ่งมีความขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการบริโภค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเลือกวิธีจัดหาน้ำสะอาดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการบริโภค วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรี (2) วิเคราะห์ผลตอบแทนและต้นทุนในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคภายในหน่วยราชบุรี จังหวัดทหาร (3) วิเคราะห์การกำหนดราคาค่าน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้ จะทำการศึกษาเฉพาะภายในหน่วยทหาร จังหวัดราชบุรี โดยสำรวจทั้งสิ้น 400 ตัวอย่างประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตร, นายทหารชั้นประทวน, ทหารกองประจำการ และ ลูกจ้าง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายใน ค่ายภาณุรังษีส่วนที่ 1, ค่ายภาณุรังษีส่วนที่ 2, แผนกที่ 6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก และ ค่ายศรีสุริยวงศ์ สำหรับการวิจัยครั้งนี้จะใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน อันประกอบด้วย ระยะเวลาคืนทุน, อัตรา ผลตอบแทนเฉลี่ย, มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ, อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน, อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ, การวิเคราะห์ความไวของโครงการ และ การทดสอบคำความแปรเปลี่ยน สำหรับการกำหนดราคาค่าน้ำสะอาดจะใช้วิธี การตั้งราคาโดยบวกจากต้นทุนรวม ผลการวิจัยพบว่า เมื่อทำการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคจำนวน 4 ขนาด ได้แก่ บรรจุถังพลาสติกใสขนาด 20 ลิตร, บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 500 ลบ.ซม., บรรจุขวดพลาสติกขุ่นขนาด 950 ลบ.ซม. และ บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 1,500 ลบ.ซม. โดยมีการผลิตรวม 28,707 ลิตรต่อวัน และจำหน่ายในราคา 8, 5, 4 และ 12 บาทตามลำดับ ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้คือ โครงการนี้มีระยะเวลาคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปี, อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 24.23 %, มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ 13,455,746.23 บาท, อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.13 และ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการเท่ากับร้อยละ 45.18 สำหรับผลการวิเคราะห์ความไวของโครงการพบว่ามีความคุ้มค่าทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่รายได้ลดลง, กรณีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และ กรณีที่รายได้ลดลงรวมกับรายจ่ายเพิ่มขึ้น จากการทดสอบค่ความแปรเปลี่ยนพบว่า ต้นทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 13.23 ผลประโยชน์สามารถลดลงได้ร้อยละ 11.69 ดังนั้น โครงการจึงมีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านเทคนิค และมีผู้บริโภคน้ำสะอาดมากพอที่จะทำให้มีความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด สำหรับต้นทุนในการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคนั้นพบว่า ต้นทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าน้ำสะอาดเท่ากับ 0.872 บาทต่อลิตร และ ค่าบรรจุภัณฑ์ของน้ำสะอาดบรรจุถังพลาสติกใสขนาด 20 ลิตร,บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 500 ลบ.ซม., บรรจุขวดพลาสติกขุ่นขนาด 950 ลบ.ซม. และ บรรจุขวดพลาสติกใสขนาด 1,500 ลบ.ซม. เท่ากับ 0.142, 2.453, 1.836 และ 5.232 บาทต่อบรรจุภัณฑ์ ตามลำดับ สำหรับผลตอบแทนของโครงการพบว่า ผลตอบแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น ผลตอบแทนทางตรงและผลตอบแทนทางอ้อม โดยผลตอบแทนทางตรงคือ การที่ผู้ผลิตมีรายได้จากการจำหน่ายน้ำสะอาด และ ผู้บริโภคมีน้ำสะอาดบริโภคอย่างเพียงพอในราคาที่ถูกลง สำหรับผลตอบแทนทางอ้อมคือ การที่ผู้ผลิตได้รับความรู้เพิ่มขึ้นทั้งทางด้านเทคนิคและด้านการตลาด และ ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้งสามารถนำน้ำสะอาดไปดำเนินการเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน นอกจากนี้ราคาที่จำหน่ายยังมีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นราคาจำหน่ายที่ทำให้โครงการมีความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน อีกทั้งราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ยยังต่ำกว่าราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ยในท้องตลาด
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11601
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
79843.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons