กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11606
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวของเกษตรกรในอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guideline for coconut production of farmers in Amphawa District, Samut Songkhram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัสรา ทัศนบรรจง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มะพร้าว--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตมะพร้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมะพร้าว 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมในการผลิตมะพร้าว ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.98 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาไม่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตร ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าว เฉลี่ย 26.68 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนมีจำนวน 2 คน พื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 5.97 ไร่ มีรายได้จากการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 7,673.73 บาท/ไร่ และมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,183.31 บาท/ไร่ 2) ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นแบบยกร่อง มีการลอกเลน 3-4 ปี/ครั้ง มีการปลูกมะพร้าวทดแทนต้นที่เสื่อมโทรม โดยการปลูกแซมระหว่างต้นเดิม ศัตรูพืชที่สำคัญ คือ กระรอก ด้วงแรดมะพร้าวใช้วิธีเขตกรรมในการป้องกัน ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางมาเก็บเกี่ยวและมารับซื้อที่สวน เกษตรกรปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุดเกือบทุกประเด็น ยกเว้นเรื่องวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการจดบันทึก ที่เกษตรกรมีการปฏิบัติระดับน้อย 3) ปัญหาในการผลิตมะพร้าวมากที่สุด ได้แก่ มีการระบาดศัตรูมะพร้าว มีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน 4) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตมะพร้าวในระดับมากที่สุด คือ เรื่องการปฏิบัติดูแลจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิต ผ่านช่องทางสื่อบุคคลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อสิ่งพิมพ์จากแผ่นผับ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากอินเตอร์เน็ต โดยวิธีการอบรมและการฝึกปฏิบัติ ตามลำดับ และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าว โดยมีแผนยุทธศาสตร์การผลิตมะพร้าว ดังนี้ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) 2.ส่งเสริมการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรที่เข้มแข็งและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรเพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11606
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons