กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11614
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาค่าความเข้มข้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและนัยนโยบายการเงินในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of degree of capital mobility and implications on monetary policy in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนี กังวานพรศิริ อาจ ศรีสัจจา, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิวัฒน์ชัย อัตถากร |
คำสำคัญ: | นโยบายการเงิน--ไทย การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) หาค่าความเข้มข้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว และ (2) ศึกษานัยนโยบายการเงินในประเทศไทยว่ามีผลกระทบต่อค่าความเข้มข้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ หรือไม่ โดยใช้ Modelของ Edwards and Khan เป็นแนวทางในการศึกษา แนวทางการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติเพื่อหาค่า (ψ) ส่วนที่สอง วิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบายการเงินของประเทศไทยกับ (ψ) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ การศึกษาจะแบ่งเวลาออกเป็น 3 ช่วงเวลาคือ ตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา (มค.2535-ธค.2545) และช่วงก่อน (มค.2535-มิย.2540) และช่วงหลัง (กค.2540-ธค.2545) การประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 แต่การศึกษาในช่วงหลังประกาศ พบว่าสมการที่ใช้วิเคราะห์หาค่า (ψ) จำเป็นต้องแบ่งออกเป็น 3 ช่วงย่อยคือ ช่วงย่อยที่ 1(กค.2540-ตค.2541) ช่วงย่อยที่ 2 (พย.2541-พย.2544) และช่วงย่อยที่ 3 (ธค.2544-ธค.2545) ทั้งนี้เพื่อให้สมการที่ใช้วิเคราะห์หาค่า พ มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ดำเนินการในช่วงนี้ตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา มค.2535 - ธค.2545 เป็นช่วงที่ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลง นโยบายการเงินที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ คือ ในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ประเทศไทยได้สนับสนุนการระคมเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่ออุดหนุนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต แต่ช่วงหลังการประกาศการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว เงินทุนต่างประเทศกลับไหลออกอย่างมากโดยที่ทางการยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงเพื่อดึงเงินทุนไหลเข้า เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติได้ค่าความเข้มข้นการเคลื่อนย้ายทุนในระยะสั้น(V,) และความเข้มในการเคลื่อนย้ายทุนในระยะยาว (W/) เท่ากับ0.13 และ 0.98 ตามลำดับ ช่วงก่อนการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ประเทศไทยมีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจที่สูง เกิดปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงใช้นโยบายการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย การเปิดกิจการวิเทศธนกิจ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่คงที่ (ไม่มี ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน) เป็นผลให้เงินทุนระหว่างประเทศไหลเข้ามามากจนล้นระบบ เกิด ปัญหา Adverse Selection และ Moral Hazard เป็นผลเสียอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม เป็นผลให้ประเทศไทยต้องประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน และนำไปสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจถดถอยในเวลาต่อมา จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติได้ค่าพ, และ พ. เท่ากับ 0.91 และ1.24 ตามลำดับช่วงหลังการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน จากระบบตะกร้าเงิน (คงที่) เป็นแบบมีการจัดการ นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนก เป็นผลให้ อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง เงินทุนระหว่างประเทศ ไหลออกเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะเงินทุนระยะสั้น) เพื่อจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้นประเทศไทยต้องใช้อัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อยับยั้งการไหลออกของเงินทุน แต่กระนั้นก็ตามเงินทุนยังไหลออกไม่หยุด เป็นผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ในที่สุดประเทศไทยจึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงิน จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อนำเงินกู้มาเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเร็ว จะเห็นว่า นโยบายในช่วงนี้มีความผันผวนอย่างมาก จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติได้ค่า(ψ),เปลี่ยนแปลงโดยแยกได้เป็น 3 ช่วงย่อยคือ ช่วงย่อยที่ 1 เท่ากับ 6.60 และ 6.34 ช่วงย่อยที่ 2 เท่ากับ -0.10และ 0.20 และช่วงย่อยที่ 3 เท่ากับ 0.33 และ 0.94 ตามลำดับ กล่าวโดยสรุปการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของประเทศไทยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มข้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11614 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License