Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11617
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจิราพร ตันติประภา, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-27T08:15:57Z-
dc.date.available2024-02-27T08:15:57Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11617-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์อัตราการคุ้มครองตามราคาและอัตราการคุ้มครองที่แท้จริงของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย (2) ศึกษาโครงสร้างการผลิต การตลาดและการค้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย (3) ศึกษาโครงสร้างทางด้านอากรขาเข้าและมาตรการที่มิใช่ภาษี ที่อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปริมาณการผลิตรถยนต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 70 และเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 30 โดยสัดส่วนการตลาดของรถปิกอัพสูงที่สุด จากกระแสการเปิดเสรีทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยไปสู่การเน้นการส่งออกอย่างชัดเจนควบคู่ไปกับนโยบายของรัฐในการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกตามโครงการดีทรอยด์แห่งเอเชีย (2) โครงสร้างภาษีของอุตสาหกรรมรถยนต์ประกอบด้วย อัตราอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตและภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยอากรขาเข้ารถยนต์นั่งได้ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 80 สำหรับทุกประเภท ในปี พ.ศ.2542 และคงอัตราเดิมถึงปัจจุบัน และลดอัตราอากรขาเข้ารถปีกอัพลงเหลือร้อยละ 40 ในปัจจุบัน (3) ผลวิเคราะห์พบว่าค่า NRP ของรถยนต์นั่งในช่วงปี พ.ศ.2540-พ.ศ.2541 มีค่าต่ำกว่าค่าNRP ในช่วงปี พ.ศ.2542 - พ.ศ.2547 และค่า NRP ของรถปิกอัพ 1 ตัน มีค่าลดลง สำหรับค่า ERP ของรถยนต์นั่งขนาด 1600 ซีซีมีค่าสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่วนค่า ERP ของรถปิกอัพ 1 ตัน ขนาด 2500 ซีซี มีค่าลดลงและพบว่าทั้งค่า NRP และ ERP ของรถยนต์นั่งมีค่าสูงกว่ารถปิกอัพ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยังคงให้การคุ้มครองรถยนต์นั่งในระดับสูงกว่ารถปิกอัพ และการที่อัตราการคุ้มครองรถปิกอัพลดลงโดยตลอด แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่สามารถใช้มาตรการด้านภาษีในการให้ความคุ้มครองได้เหมือนในอดีต เป็นไปตามสภาวะการเปิดเสรีทางการค้าในปัจจุบัน (4) ปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนเทคโนโลยีรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ยาก และปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญสำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือไม่มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา และข้อจำกัดในการส่งออกโดยใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีข้อเสนอแนะ (1) รัฐบาลควรพิจารณาลดระดับการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์นั่งอย่างเป็นลำดับโดยเฉพาะรถยนต์นั่งสำเร็จรูป พร้อมทั้งให้การสนับสนุนและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตรถยนต์นั่งของไทย (2) ควรพิจารณาในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดในการใช้สิทธิในการส่งออก และสอดคล้องกับกระบวนการผลิตตามความเป็นจริง (3) ควรจะได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์รวมถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง ว่ามีความสอดคล้องต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างไรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมรถยนต์--ไทยth_TH
dc.subjectการคุ้มครองอุตสาหกรรมth_TH
dc.titleการวิเคราะห์อัตราการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2547th_TH
dc.title.alternativeAn analysis of the rate of protection of Thai automotice industry from 1997 to 2004en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were four-fold: (1) to analyze the effective rate of protection of Thai automotive industry; (2) to study the production, marketing and trading structure of Thai automotive industry; (3) to study the current automotive tariffs and non-tariffs; and (4) to study the problems and barriers of the industry. Data for the analysis were the secondary and primary data during the period of 1997 – 2004. The data will be used for the study of production structure and the protection rate analysis of passenger car (1600 cc engine) and 1 ton pick-up (2500 cc engine). The trade of automotive industry was also included. The rate of protection analysis will be calculated under Nominal Rate of Protection and Effective Rate of Protection. It was found that (1) the automotive production has been continuously increased since 1999 onwards. Total production for domestic market was 70% and 30% for export market. The market share of pick-up car was the highest. By the current change of global trade, the automotive industry became an exportation product in accordance with the government strategic of Detroit of Asia project; (2) a tax structure of the automotive industry consisted of import duty, excise tax & interior tax and VAT. The import duty of all kinds of passenger cars had been adjusted to be in the same rate at 80% since 1999 and the import duty of the pick-up car was in the declining trend, the current rate was at 40%; (3) the results of NRP for passenger car in the period of 1997-1998 were lower than in the period of 1999-2004, and NRP for 1 ton pick-up car was in the declining trend. The ERP of passenger car (1600 cc engine) was increased in the early stage and declined after the year 2000 onwards. The ERP of 1 ton pick-up car (2500 cc engine) was also in the declining trend. In addition, both NRP and ERP of passenger car were higher than 1 ton pick-up car. It meaned that the passenger car had been more protected by the government than 1 ton pick-up car. The decline of ERP of 1 ton pick-up car showed that the government could not protect the industry with import duty policy as in the past ; (4) the problems of automotive industry found was that there were insufficient technology, a difficulty of technology transmission and unskilled & inexpert persons. The barriers of the industry was that there was not any investment on research and development and the non-tariffs action. The recommendations from this study were that (1) the protection rate of passenger car should be declined by government strategic policy e.g. a reduction of import duties, the improvement on technology and personal skill to support producer’s potential; (2) there should be a focus on Rules of Origin. (3) For the next research, the researcher should study how the automotive parts industries and supporting industries are related to development of automotive industryen_US
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86984.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons