Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11617
Title: การวิเคราะห์อัตราการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2547
Other Titles: An analysis of the rate of protection of Thai automotice industry from 1997 to 2004
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิราพร ตันติประภา, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: อุตสาหกรรมรถยนต์--ไทย
การคุ้มครองอุตสาหกรรม
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์อัตราการคุ้มครองตามราคาและอัตราการคุ้มครองที่แท้จริงของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย (2) ศึกษาโครงสร้างการผลิต การตลาดและการค้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย (3) ศึกษาโครงสร้างทางด้านอากรขาเข้าและมาตรการที่มิใช่ภาษี ที่อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปริมาณการผลิตรถยนต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 70 และเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 30 โดยสัดส่วนการตลาดของรถปิกอัพสูงที่สุด จากกระแสการเปิดเสรีทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยไปสู่การเน้นการส่งออกอย่างชัดเจนควบคู่ไปกับนโยบายของรัฐในการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกตามโครงการดีทรอยด์แห่งเอเชีย (2) โครงสร้างภาษีของอุตสาหกรรมรถยนต์ประกอบด้วย อัตราอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตและภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยอากรขาเข้ารถยนต์นั่งได้ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 80 สำหรับทุกประเภท ในปี พ.ศ.2542 และคงอัตราเดิมถึงปัจจุบัน และลดอัตราอากรขาเข้ารถปีกอัพลงเหลือร้อยละ 40 ในปัจจุบัน (3) ผลวิเคราะห์พบว่าค่า NRP ของรถยนต์นั่งในช่วงปี พ.ศ.2540-พ.ศ.2541 มีค่าต่ำกว่าค่าNRP ในช่วงปี พ.ศ.2542 - พ.ศ.2547 และค่า NRP ของรถปิกอัพ 1 ตัน มีค่าลดลง สำหรับค่า ERP ของรถยนต์นั่งขนาด 1600 ซีซีมีค่าสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่วนค่า ERP ของรถปิกอัพ 1 ตัน ขนาด 2500 ซีซี มีค่าลดลงและพบว่าทั้งค่า NRP และ ERP ของรถยนต์นั่งมีค่าสูงกว่ารถปิกอัพ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยังคงให้การคุ้มครองรถยนต์นั่งในระดับสูงกว่ารถปิกอัพ และการที่อัตราการคุ้มครองรถปิกอัพลดลงโดยตลอด แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่สามารถใช้มาตรการด้านภาษีในการให้ความคุ้มครองได้เหมือนในอดีต เป็นไปตามสภาวะการเปิดเสรีทางการค้าในปัจจุบัน (4) ปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนเทคโนโลยีรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ยาก และปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญสำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือไม่มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา และข้อจำกัดในการส่งออกโดยใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีข้อเสนอแนะ (1) รัฐบาลควรพิจารณาลดระดับการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์นั่งอย่างเป็นลำดับโดยเฉพาะรถยนต์นั่งสำเร็จรูป พร้อมทั้งให้การสนับสนุนและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตรถยนต์นั่งของไทย (2) ควรพิจารณาในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดในการใช้สิทธิในการส่งออก และสอดคล้องกับกระบวนการผลิตตามความเป็นจริง (3) ควรจะได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์รวมถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง ว่ามีความสอดคล้องต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างไร
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11617
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86984.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons