Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11628
Title: | แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี |
Other Titles: | Guidelines for development of community soil and fertilizer management center, Pho Thale Sub-district, Khai Bang Rachan District, Sing Buri Province |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ ธนานันต์ ด้วงสวัสดิ์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรธนัย อ้นสำราญ |
Keywords: | ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน--การจัดการ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 2) ข้อมูลการจัดการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 3) สภาพปัญหาในการดำเนินงานตามภารกิจและข้อเสนอแนะของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีและ 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 61.9 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 28.7 ไร่ ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาพทางเศรษฐกิจ สมาชิกมีรายได้ในภาคการเกษตร เฉลี่ย 174,433 บาทต่อปี แหล่งเงินทุนที่ใช้ในทำการเกษตรเป็นของตนเอง 2) การจัดการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านกลุ่มและการจัดการกลุ่ม พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานกลุ่ม การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ด้านบทบาทและภารกิจ พบว่า สมาชิกมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดการดินและปุ๋ยอย่างถูกต้อง ด้านการเรียนรู้ พบว่า สมาชิกได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม ด้านการจัดการกองทุน พบว่า สมาชิกบางส่วนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเงินกองทุน ด้านการขยายผล/การสร้างเครือข่าย พบว่า กลุ่มมีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์งานกลุ่ม รับเป็นวิทยากรเกษตรกรให้แก่หน่วยงานอื่นๆ 3) ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่ม ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย แต่ข้อเสนอแนะคือ ต้องการการสนับสนุนองค์ความรู้การใช้ปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตและการจัดการกองทุนเงินปันผลและจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิก 4) แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ได้แก่ การสื่อสารแผนงานการติดตามและประเมินผล การเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ การศึกษาดูงานกลุ่มที่เข้มแข็ง การจัดการกองทุนภาครัฐส่งเสริมการดำเนินงานกองทุน และการเสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11628 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License