Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11634
Title: การวิเคราะห์ความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย
Other Titles: An analysis of Thai commercial banks solvency
Authors: กาญจนี กังวานพรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรินทร์ เทศวานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุเทพ ฤาชัย, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การจัดการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์--ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทย ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 ว่ามีการประหยัดจากขนาดหรือไม่ (2) สร้างดัชนีความมั่นคงทางการเงิน สำหรับใช้วัดความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสามารถในการกำหนดความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย นอกเหนือจากอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว (4) เสนอแนะการสร้างระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยว่ามีธนาคารพาณิชย์ใดที่มีฐานะมั่นคง และไม่มั่นคง ในอนาคตผลการวิจัยพบว่า (1) ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 นั้น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทยเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพลดลง แต่หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้วธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับตัวในลักษณะที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยการประมาณค่าการประหยัดต่อขนาดของธนาคารพาณิชย์ นั้น สามารถหาได้จากค่าความชันของสมการต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของแต่ละธนาคาร หากความชันของเส้นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยมีค่าเป็นลบก็หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นมีการประหยัดต่อขนาด และหากธนาคารพาณิชย์ใดมีค่าความชันเป็นบวกหมายความว่าธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นไม่มีการประหยัดต่อขนาด (2) ในการสร้างดัชนีความมั่นคงทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทย ได้ทำการประมาณการสมการแบ่งแยกประเภท ซึ่งสร้างขึ้นจากอัตราส่วนทางการเงิน หลาย ๆ อัตราส่วนพร้อมกัน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์การจำแนกประเภท ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมในการที่จะชี้วัดความมั่นคงทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากสามารถจำแนกธนาคารที่มีความมั่นคง และไม่มั่นคงออกจากกันได้ โดยผลการวิจัยได้ค่าดัชนีวัดความมั่นคงที่เป็นจุดวิกฤตเท่ากับ -1.326 ซึ่งแสดงว่า หากค่าดัชนีจากสมการแบ่งแยกประเภทที่ได้ของธนาคารพาณิชย์ใดมีค่าดัชนีสูงกว่า -1.326 จะเป็นธนาคารที่มีความมั่นคง และหากค่าดัชนีจากสมการแบ่งแยกประเภทของธนาคารใดมีค่าดัชนีต่ำกว่า -1.326 จะเป็นธนาคารที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน โดยสมการที่ได้มีความถูกต้องในการพยากรณ์ภาวะวิกฤตร้อยละ 93.33 (3) ปัจจัยอื่นอีกที่นอกเหนือจากอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ที่สามารถกำหนดความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทยได้ คือ อัตราส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวัดสภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร ความเพียงพอของเงินทุน และอัตราส่วนที่แสดงถึงคุณภาพของสินทรัพย์ (4) การสร้างระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤต ที่สามารถแบ่งแยกความมั่นคงและไม่มั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทยได้ดีที่สุด คือ การใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤต 2 ปี ในการพยากรณ์
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11634
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
87914.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons