Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorดุษฎี รังษีพลาสวัสดิ์, 2499-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-29T04:03:54Z-
dc.date.available2024-02-29T04:03:54Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549th_TH
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของเกษตรกรที่ทำการเกษตรตามระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเกษตรกรเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าชาวเขา 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพของชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ภายใต้ความรับผิดชอบหลักของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น และกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทำระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่ทำการเกษตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนหรือรายได้สุทธิทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรระหว่างเกษตรกร 2 กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยทำการวิเคราะห์ผลของข้อมูลในเชิงพรรณนา ตามหลักสถิติและทำการวิเคราะห์ผลในเชิงปริมาณ โดยใช้แบบจำลอง Multinomial Logit Model เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยมีปัจจัยในขนาดพื้นที่ถือครองและค่าใช้จ่ายเงินสดทางการเกษตรเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำระบบอนุรักษ์ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์ ยังพบว่า โอกาสที่ผู้หญิงใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำจะมีสูงกว่าผู้ชาย และเมื่อเปรียบเทียบรายได้ของเกษตรกรแล้ว ปรากฏว่า เกษตรกรกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ จะมีรายได้สุทธิในรูปเงินสดสูงกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการอยู่ร้อยละ 17.81 แต่เนื่องจากการมีรายจ่ายในศรัวเรือนต่อปีที่ค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้สุทธิรวมทั้งจากในและนอกฟาร์มติดลบ เป็นจำนวน -19,695.19 บาท และ -18,085.96 บาท ตามลำดับ อีกทั้ง ยังพบว่า เกษตรกรเป้าหมายมีภาระหนี้สินต่อครัวเรือนเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จากผลการศึกษาที่ได้ นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ลาดชันให้หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบ กล่าวคือ 1) การพัฒนาอาชีพเกษตรกร ควรมุ่งเน้นการผลิตที่สมดุลเพื่อการยังชีพและความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากการพัฒนาอาชีพที่มุ่งรายได้เพิ่มขึ้น หากแต่การส่งเสริมไม่ได้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นจริง เพราะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตไปในเชิงพาณิชย์ ทำให้การผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนลดลง เกษตรกรจำเป็นต้องนำรายได้มาใช้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีกด้วย 2) การส่งเสริมให้เกษตรกรทำระบบการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น ควรพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการตัดสินใจของเกษตรกรประกอบการขยายผลด้วย และ 3) ควรพิจารณาวิธีการหนุนเสริมให้เกษตรกรรักษาทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ทำการเกษตรควบคู่กันไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการใช้ที่ดินth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม--ไทยth_TH
dc.titleการประเมินผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ลาดชันth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of the economic, social and environmental impacts from agricultural land utilization in the upland area in the Northern Region of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorจรินทร์ เทศวานิชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98092.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons